ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

คำถามที่พบบ่อยๆ เกี่ยวกับ บัญชีธุรกิจและผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

อยากทราบวิธีการบันทึกบัญชีการรับชำระค่าหุ้นจดทะเบียนเป็นเงินสดและลูกหนี้ค่าหุ้น ?
ตอบ :
การบันทึกทุนจดทะเบียน Dr เงินสด XXX ลูกหนี้ค่าหุ้น XXX Cr ทุนจดทะเบียน XXX - เมื่อได้รับชำระค่าหุ้น Dr เงินสด/ธนาคาร XXX Cr ลูกหนี้ค่าหุ้น XXX

การตั้งค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง หมายถึงอะไร และมีวิธีการรับรู้อย่างไร ?
ตอบ :
ค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง หมายถึง ส่วนต่างที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าสินค้า คงเหลือสภาพปกติหรือสภาพเสื่อมชำรุดระหว่างราคาทุนกับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ เมื่อสินค้าคงเหลือถูกปรับลดให้เป็นมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ ไม่ให้ถือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับนั้นเป็นราคาทุนใหม่ ถ้ากิจการยังคงถือสินค้าคงเหลือดังกล่าวอยู่ ณ วันสิ้นงวดบัญชีถัดมา กิจการต้องเปรียบเทียบราคาทุนเดิมกับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับที่ได้ประเมินใหม่ ณ วันนั้น ซึ่งอาจเป็นผลให้มีการกลับรายการที่เคยบันทึกปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือในงวดบัญชีก่อน หากมูลค่าสุทธิที่จะได้รับที่ประเมิน ณ วันสิ้นงวดบัญชีถัดมากลับมีมูลค่าสูงขึ้น

การบันทึกรายการบัญชีตามใบสำคัญทั่วไปในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น ถือเป็นสมุดบัญชีรายวันทั่วไปตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ได้หรือไม่ ?
ตอบ :
การจัดทำบัญชีรายวัน ไม่ว่าจัดทำด้วยมือหรือใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ จะต้องเป็นไปตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการกิจการมีลูกหนี้การค้าที่เป็นหนี้ค้างชำระและไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ แต่เนื่องจากนานมากและการจัดเก็บเอกสารไม่ดี ทำให้ไม่มีหลักฐานการเป็นหนี้ ดังนั้นกิจการควรทำอย่างไรจึงจะตัดเป็นหนี้สูญได้ ? งบัญชี พ.ศ. 2544

กิจการถูกไฟไหม้ ทำให้บัญชีและเอกสารเสียหายบางส่วน และได้แจ้งเอกสารเสียหายกับทางกรมสรรพากรและกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว โดยในทางบัญชีกิจการมีรายการลูกหนี้การค้าแต่ไม่มีเอกสารเรียกเก็บเงิน ทำให้ยอดลูกหนี้ยังคงมีปรากฏอยู่ในบัญชี ดังนั้นกิจการจะสามารถตัดบัญชีลูกหนี้การค้าเป็นหนี้สูญได้หรือไม่ ?
ตอบ :
ให้ปฏิบัติตาม มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 11 เรื่อง หนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์การตัดหนี้สูญไว้ดังนี้ 1. เมื่อมีการทวงถามถึงที่สุดแล้ว โดยดำเนินการตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎหมาย ภาษีอากร 2. คาดหมายได้แน่นอนว่าจะไม่ได้รับการรับชำระหนี้

กรณีที่กิจการมีเงินลงทุนชั่วคราวเป็นหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดทั้งประเภทหลักทรัพย์ เพื่อค้าและหลักทรัพย์เผื่อขายนั้น กิจการจะต้องมีการปรับปรุงเงินลงทุนให้เป็นมูลค่ายุติธรรมทุกงวดบัญชีหรือไม่ ?
ตอบ :
ณ วันสิ้นปี กิจการจะต้องแสดงหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ทั้งที่เป็นหลักทรัพย์เพื่อค้าและหลักทรัพย์เผื่อขายที่ถือเป็นเงินลงทุนชั่วคราวในงบดุล ด้วยมูลค่ายุติธรรม โดยไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจากการขายเงินลงทุนนั้น การปรับมูลค่าของเงินลงทุน-หลักทรัพย์เพื่อค้าเป็นราคายุติธรรมนั้น อาจปรับโดยผ่านบัญชี “ ค่าเผื่อการปรับมูลค่าเงินลงทุน-หลักทรัพย์เพื่อค้า ” แทนที่จะเครดิตออกจากบัญชีเงินลงทุนชั่วคราว-หลักทรัพย์เพื่อค้าก็ได้

กิจการรับงานก่อสร้างให้กับหน่วยราชการ ซึ่งในปัจจุบันราคาของวัตถุดิบแปรผันมากและส่วนใหญ่ ไม่สามารถจะเรียกร้องจากหน่วยราชการได้ จึงทำให้เกิดผลขาดทุนขึ้นเป็นจำนวนมาก ดังนั้นกิจการควรแสดงงบการเงินหรือเปิดเผยถึงกรณีที่เกิดการขาดทุนเนื่องจากการซื้อมากกว่าการขายอย่างไร ?
ตอบ :
ถ้ากิจการเกิดผลขาดทุนจริงๆ กิจการต้องแสดงงบการเงินตามความเป็นจริงและสามารถเปิดเผยถึงสาเหตุที่เกิดผลขาดทุนจำนวนสูงไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินได้

กิจการจ่ายเช็คชำระหนี้ให้เจ้าหนี้การค้า ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2548 แต่เจ้าหนี้การค้ายังไม่นำเช็คไปขึ้นเงิน กิจการต้องปรับปรุงบัญชีหรือไม่ ?
ตอบ :
กิจการไม่ต้องปรับปรุงรายการ แต่ควรมีการจัดทำงบกระทบยอดเงินฝากธนาคารเพื่อให้กิจการสามารถตรวจสอบรายการได้

กิจการ A ได้รวมธุรกิจกับกิจการ B โดยการเข้าซื้อธุรกิจของกิจการ B ดังนั้นกิจการ A ควรบันทึกบัญชีในการซื้อธุรกิจของกิจการ B อย่างไร ?
ตอบ :
การรวมธุรกิจที่ถือเป็นการซื้อธุรกิจต้องปฏิบัติทางบัญชีโดยใช้วิธีซื้อ ซึ่งวิธีซื้อมีการบันทึกบัญชีคล้ายกับการซื้อสินทรัพย์โดยทั่วไป เนื่องจากการซื้อธุรกิจเป็นรายการบัญชีที่เกี่ยวกับการ โอนสินทรัพย์ การก่อหนี้สินหรือการออกหุ้นทุนเพื่อแลกเปลี่ยนกับการควบคุมสินทรัพย์สุทธิและการดำเนินงานของอีกกิจการหนึ่ง วิธีซื้อใช้ราคาทุนเป็นเกณฑ์ในการบันทึกบัญชีโดยกำหนดต้นทุนการซื้อธุรกิจจากรายการแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้น
กิจการได้กู้เงินนอกระบบมาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ เนื่องจากกิจการไม่สามารถขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้ ซึ่งในการกู้เงินนอกระบบจะมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าสถาบันการเงินประมาณ 7 เท่า ดังนั้นกิจการสามารถนำเงินกู้และดอกเบี้ยนอกระบบมาบันทึกบัญชีได้หรือไม่ ?
ตอบ :
ถ้ากิจการมีการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้จริง กิจการสามารถนำมาลงเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้ ซึ่งเงินกู้ยืมที่ได้รับมาก็ต้องบันทึกเป็นหนี้สินในงบการเงิน และต้องมีหลักฐานการกู้ยืมเงินและการชำระดอกเบี้ยที่สามารถตรวจสอบได้เพื่อประกอบการลงบัญชี

กรณีกิจการขายสินค้าให้ลูกค้าต่างประเทศเป็นเงินเชื่อ บันทึกบัญชีโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ และต่อมาได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ต่างประเทศ ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการกับวันที่รับชำระหนี้มีอัตราแตกต่างกัน ดังนั้นกิจการควรบันทึกบัญชีอย่างไร ?
ตอบ :
กิจการต้องบันทึกผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นของวันที่เกิดรายการกับวันที่มีการรับชำระหนี้ โดยรับรู้เป็นกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบรายการเจ้าหนี้การค้าซึ่งมีสาระสำคัญ โดยการขอความร่วมมือกับเจ้าหนี้ของกิจการที่รับตรวจสอบ ซึ่งให้เจ้าหนี้ทำรายละเอียดยอดคงค้างทั้งหมด เช่น ดอกเบี้ย เงินต้น และขอเอกสารยืนยันจากเจ้าหนี้ แต่ทางเจ้าหนี้ให้เพียงตัวเลขยอดคงค้างทั้งหมดเท่านั้น ไม่ได้ให้รายละเอียดเอกสารหลักฐานใดๆเลย กรณีดังกล่าวผู้สอบบัญชีควรดำเนินการอย่างไร ?
ตอบ :
ในการขอคำยืนยันยอดเจ้าหนี้นั้น ผู้สอบบัญชีต้องติดต่อกับเจ้าหนี้โดยตรง แต่ต้องได้รับอนุญาตจากลูกค้าก่อน เนื่องจากเป็นข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้าของลูกค้า โดยถ้าการขอคำยืนยันยอดหรือขอรายละเอียดหลักฐานจากเจ้าหนี้ไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร ผู้สอบบัญชีต้องใช้วิธีการตรวจสอบอื่นเพื่อให้ได้หลักฐานที่เพียงพอเกี่ยวกับเจ้าหนี้การค้า

งบการเงินที่ผู้สอบบัญชีแสดงหน้ารายงานการสอบบัญชีเป็นแบบไม่แสดงความเห็น ถือว่างบการเงินนั้นไม่ถูกต้องใช่หรือไม่ ?
ตอบ :
การแสดงหน้ารายงานดังกล่าว ถือเป็นความเห็นของผู้สอบบัญชี โดยที่ผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็นแบบไม่แสดงความเห็นก็ต่อเมื่อผู้สอบบัญชีไม่ได้ปฏิบัติงานตรวจสอบงบการเงินตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไปอย่างมีสาระสำคัญมาก หรือกิจการที่ตรวจสอบมีปัญหาต่อการดำเนินงานต่อเนื่องอย่างมีสาระสำคัญมาก หรือมีความไม่แน่นอนอันมีผลกระทบต่องบการเงินอย่างมีสาระสำคัญมาก ทำให้ผู้สอบบัญชีไม่สามารถตรวจสอบงบการเงินให้ได้หลักฐานการสอบบัญชีที่เพียงพอที่จะวินิจฉัยหรือให้ได้ความเห็นได้ว่า งบการเงินนั้นมีความถูกต้องตามที่ควรหรือไม่เพียงใด

ที่มา: http://www.cpaccount.net/accounting-article-section/43-accounting-article-category/190-2008-06-16-18-15-02

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น