ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

การทำระบบบัญชีผลกำไรรายชั่วโมง

การทำระบบบัญชีผลกำไรรายชั่วโมง

งาน บัญชีบริษัทเคียวเซร่า ประเทศญี่ปุ่น มีหลักการในการบริหารธุรกิจอยู่ว่า “ถ้าทำยอดขายให้ได้มากที่สุด ลดค่าใช้จ่ายให้มีน้อยที่สุดได้ ผลต่างที่เป็นมูลค่าเพิ่มนั้นก็จะสูงที่สุด” ด้วยหลักนี้เองทำให้เขาให้ความสำคัญกับการทำบัญชีบริษัท โดยทางเคียวเซร่าจะมีการทำงบการเงินทุกเดือน เพื่อให้สามารถรับรู้สถานการณ์ของบริษัทได้ตลอดว่าในแต่ละเดือน เขามีรายรับเท่าไร ค่าใช้จ่ายเท่าไร หักลบกันได้แล้วผลกำไรเท่าไร


ที่สำคัญเขาดูผลกำไรกันเป็นรายชั่วโมงเลยทีเดียว เคียวเซร่าใช้การบริหารบัญชีที่เรียกว่า “ระบบบัญชีกำไรรายชั่วโมง” ซึ่งช่วยให้แผนกต่าง ๆ สามารถมองเห็นตัวเลขมูลค่าเพิ่มของตน และพยายามทำให้ตัวเลขนั้นเพิ่มสูงขึ้น ยกตัวอย่างแผนกงานผลิต ผลกำไรของแผนกงานผลิต คือ ยอดจำหน่ายหักค่าใช้จ่าย ซึ่งคำนวณโดยลบค่าใช้จ่ายทั้งหมด (ยกเว้นค่าแรง) ออกจากจำนวนเงินยอดผลิตซึ่งคิดเป็นรายรับ แล้วนำยอดจำหน่ายหักค่าใช้จ่ายที่คำนวณได้มาหารด้วยจำนวนชั่วโมงทำงานทั้ง หมด ได้เป็น “ค่ารายชั่วโมง” ซึ่งเป็นมูลค่าเพิ่มที่แผนกงานผลิตทำได้ใน 1 ชั่วโมง
      เมื่อถึงสิ้นเดือนฝ่ายบัญชีจะสรุปข้อมูล เหล่านี้ส่งไปยังแผนกงานผลิต เพื่อที่หน้างานจะได้มองเห็นความคืบหน้าในแผนกของตนว่า สามารถทำยอดขายเพิ่มขึ้นตามเป้าหรือไม่ และในขณะเดียวกันก็สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ตามตัวเลขเป้าหมายที่กำกับไว้หรือ ไม่ หากพบว่าในส่วนใดมีการดำเนินการล่าช้ากว่ากำหนด หรือพบว่ามีค่าใช้จ่ายเกินกว่าที่คาดไว้ ก็จะได้ดำเนินมาตรการแก้ไขอย่างฉับไว และเข้มงวดมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้พนักงานมีความตื่นตัวในการทำงานอยู่เสมอ และพยายามเพิ่มค่าชั่วโมงให้กับตัวเอง ด้วยการหาวิธีใช้ชั่วโมงทำงานอย่างมีประสิทธิผล เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มมากที่สุด
       การทำ “ระบบบัญชีกำไรรายชั่วโมง” เช่นนี้ สะท้อนภาพการทำงานของแต่ละแผนกได้อย่างถึงแก่น ช่วยให้ผู้บริหารมองเห็นภาพผู้รับผิดชอบในส่วนงานต่าง ๆ รวมถึงผู้ใต้บังคับบัญชาและพนักงานของพวกเขาได้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังช่วยให้เข้าใจงานของพวกเขาดีขึ้น สามารถจับความเคลื่อนไหวของประเภทสินค้าที่ผลิต วัสดุและกระบวนการผลิต อุปกรณ์ เทคโนโลยีการผลิต และบรรยากาศทั่ว ๆ ไปในโรงงานได้เป็นอย่างดี เพียงดูจากตัวเลขในบัญชีผลกำไรรายชั่วโมงเท่านั้น
“ทำไมถึงได้ใช้ไฟฟ้ามากมายขนาดนั้น”
“ทำไมค่าเดินทางและค่าพาหนะถึงได้แพงขนาดนี้”
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรบัญชีผลกำไรรายชั่วโมงสามารถบอกได้หมดทุกอย่าง โดยไม่ต้องมีการรายงานให้ทราบ
      นอก จากจะแสดงผลประกอบการเป็นตัวเลขแล้ว บัญชีผลกำไรรายชั่วโมงยังรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแผนงานหลัก และแผกงานรายเดือน ซึ่งในขั้นสุดท้ายจะใช้การคำนวณตัวเลขของแผนงานในระดับองค์กรต่อไป และเมื่อดำเนินการตามนี้ ไม่ว่าแต่ละหน่วยแต่ละแผนกจะอยู่ตรงจุดไหน หรือมีขนาดเล็กเพียงใด ระบบบัญชีก็จะช่วยให้ผู้บริหารทราบทันทีว่ามีปัญหาเกิดขึ้นที่ไหน จะได้บริหารไปได้ถูกทางอย่างทันท่วงที และสามารถควบคุมผลกำไรให้ธุรกิจดำเนินไปตามความคาดหมาย และถึงเป้าหมายอย่างมั่นคง
      ต้องยอมรับว่าวิธีคิดของเคียวเซร่านั้น เขาให้ความสำคัญกับการทำบัญชีอย่างมาก ถึงได้ติดตามความเคลื่อนไหว ความเป็นไปของธุรกิจได้โดยตลอด ทำให้
เคียวเซร่าเป็นยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลในญี่ปุ่นมายาวนาน “ระบบบัญชีกำไรรายชั่วโมง” จึงเป็นอีกระบบหนึ่งที่นักบัญชีไม่ควรมองข้าม
ที่มา : Jobdb

การจะเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องทำอย่างไร


1. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการทดสอบเป้นผู้สอบบัญชีภาษีอากร
2.
วิชาและขอบเขตวิชาที่ทดสอบ

3. วิธีการยื่นคำขอเข้ารับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
4. การขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร
5. วุฒิการศึกษาที่สามารถสมัครเข้าทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร
     -
สถานศึกษารัฐบาล
     - สถานศึกษาสถานศึกษาเอกชน


ที่มา :http://www.accounttothai.com/index.php?option=com_content&task=view&id=487&Itemid=100

ระบบบัญชีบน Windows ดีกว่าระบบบัญชีบน Dos อย่างไร



  • โปรแกรม Windows มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องส่วนโปรแกรมบน Dos หยุดการพัฒนา
  • คนรุ่นใหม่ไม่รู้จัก Dos ส่วนใหญ่จะรู้จัก windows สามารถ Export ข้อมูลเข้าสู่โปรแกรม Windows ได้ทั้งหมด ส่วนโปรแกรมบน Dos ทำได้ยากมาก
  • ระบบบัญชีบน Windows ใช้งานง่ายเพราะเป็นระบบ Graphic User Interface (GUI) ส่วนระบบบน Dos การทำงานจะเป็น Text Mode
  • ระบบบน Windows สวยงามน่าใช้ และ Windows มีการทำงานแบบ Multitasking คือการทำงานได้หลายๆงาน พร้อมกันบนเครื่องคอมพิวเตอร์เดียวกัน ส่วนบน Dos จะต้องทำงานให้เสร็จก่อนถึงจะทำงานต่อไปได้
  • Windows มีการทำงานแบบ 32 bits ส่วน Dos มีการทำงานแบบ 16 bits การส่งผ่านข้อมูลจะรวดเร็วกว่าเดิม
  • Windows มีโปรแกรมต่างๆ สนับสนุนมากมาย โดยผู้ผลิตซอฟท์แวร์ชั้นนำต่างก็ผลิตออกมาตามความต้องการ ของผู้ใช้แตกต่างจากบน Dosที่ทุกๆ บริษัทเลิกพัฒนาและเลิกใช้
  • Windows เข้าสู่ระบบเครือข่ายได้ง่ายกว่า Dos เพราะปัจจุบัน E-commerce ได้เข้ามามีบทบาทในเชิงพาณิชย์ มากขึ้น
  • Windows เหมาะกับผู้บริหารเพราะ Report ที่ได้สามารถนำเสนอในรูปแบบของกราฟต่างๆ ได้ การโอนข้อมูลเข้าสู่ Excel ทำได้โดยง่าย ผู้บริหารสามารถเข้าใจในระยะเวลาอันสั้น
  • โปรแกรม Windows รองรับปี 2000 ได้แน่นอน ส่วน Dos ต้องมีการแก้ไขซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก
ที่มา:http://www.accounttothai.com/index.php?option=com_content&task=view&id=624&Itemid=100

คำศัพท์ทางบัญชีเบี้องต้น

  สินทรัพย์ หมายถึง สิ่งที่มีตัวตนหรือไม่มีตัวตนอันมีมูลค่า ซึ่งบุคคลหรือกิจการเป็นเจ้าของ หรือสามารถถือเอกประโยชน์ได้จากกรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์ อสังหาริททรัพย์ สินธิ์เรียกร้อง มูลค่าที่ได้มา รายจ่ายที่ก่อให้เกิดสิทธิ์ และรายจ่ายของงวดบัญชีถัดไป
จากความหมายดังกล่าว สินทรัพย์ในทางบัญชีมีหลายลักษณะดังนี้
      - สินทรัพย์ที่เป็นตัวเงินหรือเทียงเท่าเงิน เช่น เงินสด และตั๋วเงินรับต่าง ๆ
      - สินทรัพย์ที่เป็นสิทธิเรียกร้อง เช่น ลูกหนี้
      - สินทรัพย์ที่มีตัวตน เช่น ที่ดิน อาคาร รถยนต์
      - สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน เช่น สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ สัมปทาน
      - รายจ่ายที่จ่ายไปแล้วจะให้ประโยชน์ต่องวดบัญชีถัดไป ได้แก่ ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าประเภทต่าง ๆ
      สินทรัพย์สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
      1. สินทรัพย์หมุนเวียน (Current asets) หมายถึง เงินสดหรือสินทรัพย์อื่นที่มีเหตุผลจะคาดหมายได้ว่าจะเปลี่ยนเป็นเงินสด หรือขาย หรือใช้หมดไประหว่างรอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติของกิจการ
      2. สินทรัพย์ถาวร (Fixed assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่มีลักษณะคงทนถาวรเพื่อไว้ใช้ในการดำเนินงานตามปกติของกิจการ และมีอายุการใช้งานนานกว่า 1 ปี
      3. สินทรัพย์อื่น ๆ (Other assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่อาจจัดเข้าเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน หรือสินทรัพย์ถาวรได้ เช่น เงินลงทุนระยะยาว รายจ่ายหรือค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชี เป็นต้น
      หนี้สิน หมายถึง พันธะผูกพันกิจการอันเกิดจากรายการค้าการกู้ยืม หรือจากคนอื่นซึ่งจะต้องชำระคืนในภายหน้าให้แก่บุคคลภายนอกตามสิทธิเรียกร้องที่บุคคลภายนอกมีต่อกิจการด้วยสินทรัพย์ หรือบริการหนี้สินสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
      1. หนี้สินหมุนเวียน (Current liabilities) หมายถึง หนี้สินซึ่งมีระยะเวลาการชำระคืนภายใน 1 ปี หรือภายในรอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติของกิจการด้วยสินทรัพย์หมุนเวียน หรือด้วยการก่อหนี้สินระยะสั้นอื่นแทน
      2. หนี้สินระยะยาว (Long - term liabilities) หมายถึง หนี้สินซึ่งมีระยะเวลาการชำระคืนเกินกว่า 1 ปี หรือเกินกว่ารอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติของกิจการ หนี้สินระยะยาวแบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น เงินกู้ยืมระยะยาว หุ้นกู้ พันธบัตรเงินกู้ เป็นต้น   
      3. หนี้สินอื่น ๆ (Other liabilities) หมายถึง หนี้สินซึ่งไม่อาจจัดเป็นหนี้สินหมุนเวียนและหนี้สินระยะยาว เช่น เงินสะสมหรือเงินบำนาญของลูกจ้าง พนักงาน เงินกู้ยืมระยะยาวจากเจ้าหน้าที่ของบริษัทหรือบริษัทในเครือรายได้รอการตัดบัญชี เป็นต้น
      รายได้ หมายถึง ผลตอบแทนที่กิจการได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการตามปกติของกิจการรวมทั้งผลตอบแทนอื่น ๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงานตามปกติ รายได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 

      1. รายได้จากการขาย (Sales) หมายถึง รายได้ที่เกิดจากการขายสินค้าหรือบริการอันเป็นรายได้จากการดำเนินงานตามปกติ เช่น กิจการซื้อขายสินค้า รายได้ของกิจการ คือ รายได้จากการขายสินค้า ส่วนกิจการให้บริการ เช่น ซ่อมเครื่องไฟฟ้า
      2. รายได้ของกิจการ คือ รายได้ค่าซ่อม รายได้อื่น (Other incomes) หมายถึง รายได้ที่มิได้เกิดจากการดำเนินงานตามปกติของกิจการซึ่งเป็นรายได้ที่ไม่ใช้รายได้จากการขายสินค้าหรือบริการนั่นเอง
      ส่วนของเจ้าของ หมายถึง ทุนที่เจ้าของกิจการนำมาลงทุนเป็นเงินสด หรือสินทรัพย์อื่นรวมทั้งกำไรสุทธิที่ยังมิได้แบ่งให้แก่ส่วนของเจ้าของกิจการด้วย ส่วนของเจ้าของจะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ ส่วนของเจ้าของกิจการแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
      1. กิจการเจ้าของคนเดียว ส่วนของเจ้าของกิจการประกอบด้วยบัญชีทุน กำไรหรือขาดทุนสุทธิ และถอนใช้ส่วนตัว ห้างหุ้นส่วน ส่วนของเจ้าของกิจการเรียกว่า ส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน (Partners' equity) เป็นผลรวมของทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน ซึ่งทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนนั้นประกอบด้วยผลรวมของเงินลงทุน เงินถอนทุนและส่วนแบ่งผลกำไรและขาดทุนสุทธิ
      2. บริษัทจำกัด ส่วนของเจ้าของกิจการเรียนกว่า ส่วนของผู้ถือหุ้น (Shareholders' equity) เป็นผลรวมของทุนจดทะเบียนตามกฎหมายของบริษัทที่แสดงอยู่ในรูปชนิดของหุ้น จำนวนและมูลค่าหุ้น ส่วนเกินมูลค่าหุ้นหรือส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นและกำไรสะสม
      ค่าใช้จ่าย หมายถึง ต้นทุนส่วนที่หักออกจากรายได้ในรอบระยะเวลาที่ดำเนินการงานหนึ่ง ค่าใช้จ่ายสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ ต้นทุนขาย (Cost of sales) หมายถึง ต้นทุนของสินค้าที่ขายหรือบริการที่ให้ กล่าวคือในกิจการซื้อเพื่อขาย ต้นทุนของสินค้าที่ขายจะรวมราคาซื้อและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จำเป็น เพื่อให้สินค้าอยู่ในสภาพพร้อมที่จะขาย ส่วนในกิจการผลิตเพื่อขายต้นทุนของสินค้าที่ขายคือ ต้นทุนการผลิตของสินค้านั้น ซึ่งประกอบด้วย ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงานและโสหุ้ยการผลิต
      1. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Operating expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นอันเองมาจากการขายสินค้าหรือบริการ และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเนื่องจากการบริหารกิจการอันเป็นส่วนรวมของการดำเนินงาน
      2. ค่าใช้จ่ายอื่น (Other expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากที่จัดเข้าเป็นต้นทุนขายและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เช่นดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้
      3. ค่าใช้จ่ายสำหรับธุรกิจขายสินค้า จะประกอบด้วย ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และค่าใช้จ่ายอื่น สำหรับธุรกิจขายบริการค่าใช้จ่ายจะประกอบไปด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและค่าใช้จ่ายอื่นเท่านั้น
      งบการเงิน เป็นรายงานทางการเงินที่นำเสนอข้อมูลเพื่อแสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการโดยถูกต้องตามที่ควรในแต่ละงวดบัญชีใดบัญชีหนึ่ง หรือระหว่างงวดบัญชีก็ได้งบการเงินจะแสดงข้อมูลโดยถูกต้องตามที่ควรก็ต่อเมื่อกิจการได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีอย่างเหมาะสม รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อจำเป็น งบการเงินดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ และสามารถแสดงถึงผลการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหาร ซึ่งได้รับความไว้วางใจให้ดูแลทรัพยากรของกิจการ งบการเงินต้องจัดทำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และจะต้องนำเสนอข้อมูลดังต่อไปนี้ คือ สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้ ค่าใช้จ่าย และกระแสเงินสด
ส่วนประกอบของงบการเงินที่สมบูรณ์ ประกอบด้วย
      1. งบดุล (Balance sheet) เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่งว่ามีสินทรัพย์และหนี้สินประเภทอะไรเป็นมูลค่าเท่าใด และมีเงินทุนเป็นเท่าใด
      2. งบกำไรขาดทุน (Income Statement) เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงผลการดำเนินงานของกิจการในระหว่างงวดบัญชี หรือสิ้นงวดบัญชีใดบัญชีหนึ่ง
      3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ (Statement of changes in owners' equity) หมายถึง รายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ
      4. งบกระแสเงินสด (Cash Flow Statement) เป็นรายงานที่แสดงถึงการได้มาและใช้ไปของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
      หมายเหตุประกอบงบการเงิน (Note of Financial Statement) ประกอบด้วยการอธิบาย และการวิเคราะห์รายละเอียดของจำนวนเงินที่แสดงในงบดุล งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสดและงบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ โดยแสดงในรูปของงบย่อย หรืองบประกอบต่างๆ รวมทั้งข้อมูลเพิ่มเติม ข้อมูลที่มาตรฐานการบัญชีกำหนดให้ต้องเปิดเผย และการเปิดเผยข้อมูลอื่นที่ทำให้งบการเงินแสดงโดยถูกต้องตามที่ควร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจได้ถูกต้อง
เดบิต (Debit) ใช้อักษรย่อว่า "Dr หมายถึง
       - จำนวนเงินที่แสดงทางด้านซ้ายของบัญชี
      - การลงรายการทางด้านซ้ายของบัญชี หรือการผ่านบัญชีอันกระทำให้สินทรัพย์ หรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
      - การลงรายการทางด้านซ้ายของบัญชี หรือการผ่านบัญชีอันกระทำให้หนี้สิน รายการเงินทุน หรือรายได้ลดลง
      จากความหมายดังกล่าว เดบิตจะใช้บันทึกรายการพร้อมกับจำนวนเงินทางด้านซ้ายของบัญชี ในการบันทึกรายการจะมีผลทำให้บัญชีสินทรัพย์หรือบัญชีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ส่วนบัญชีหนี้สิน ทุน หรือบัญชีรายได้จะลดลง สำหรับเครดิตจะใช้บันทึกรายการพร้อมกับจำนวนเงินทางด้านขวาของบัญชี ในการบันทึกรายการจะมีผลทำให้บัญชีหนี้สิน ทุน หรือบัญชีรายได้เพิ่มขึ้น ส่วนบัญชีสินทรัพย์ หรือบัญชีค่าใช้จ่ายจะลดลง ผลต่างระหว่างจำนวนเงินรวมด้านเดบิต และจำนวนเงินรวมด้านเครดิตของแต่ละบัญชีเรียกว่ายอดคงเหลือในบัญชีหรือยอดดุลบัญชี (Account balance) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
      - ยอดดุลเดบิต (Debit balance) หมายถึง ผลต่างระหว่างจำนวนเงินรวมที่มากกว่าจำนวนเงินรวมด้านเครดิต
      - ยอดดุลเครดิต (Credit balance) หมายถึง ผลต่างระหว่างจำนวนเงินรวมที่มากกว่าจำนวนเงินรวมด้านเดบิต



ที่ม:http://www.accounttothai.com/index.php?option=com_content&task=view&id=255&Itemid=100

นักบัญชีอิสระ : อาชีพทำเงินในทุกสภาพเศรษฐกิจ

งานบัญชีเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการทำธุรกิจทุกประเภท เพราะจะทำให้เรารู้ต้นทุน-กำไร รายรับ-รายจ่าย รู้ความเคลื่อนไหวของสินค้าแต่ละชนิด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจทั้งสิ้น นอกจากนั้นผู้ประกอบการยังต้องสรุปบัญชี
ส่งสรรพากรอย่างสม่ำเสมออีกด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการไม่ว่าจะอยู่ในรูปของห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัดจึงต้องจ้างผู้ทำบัญชีประจำบริษัทอย่างน้อย 1 คน และไม่ว่าอาชีพอื่นจะตกงานมากเพียงใด อาชีพนักบัญชีก็ยังเป็นที่ต้องการอยู่ตลอดเวลา
นักบัญชีที่ต้องการจะรับงานบัญชีอิสระจะต้องเป็นผู้ที่เรียนมาทางด้านการ บัญชีและมีประสบการณ์ในการทำบัญชีมากพอ เช่น เคยเป็นสมุห์บัญชีหรือผู้จัดการแผนกบัญชีมาก่อน มีความรู้และชั่วโมงบินที่มากพอที่จะบินเดี่ยว หรือจัดตั้งสำนักงานบัญชีเป็นของตนเอง
โดยการเป็นนักบัญชีอิสระนั้น คุณสามารถรับงานทางด้านบัญชีได้หลากหลายตั้งแต่ รับทำบัญชี รับตรวจสอบบัญชี รับวางระบบบัญชี รับเขียนโปรแกรมบัญชี เป็นที่ปรึกษาภาษีอากร หรือเป็นวิทยากร วิชาบัญชี-ภาษีอากร รวมทั้งยังสามารถเปิดสถาบันอบรมบัญชี-ภาษีอากร หรือผลิตและจำหน่ายโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป หากคุณมีการรวมทีมจัดตั้งกันเป็นกลุ่มได้
หนทางสู่นักบัญชีอิสระ
  1. ทำงานประจำ-รับงานบัญชีให้บริษัทใดบริษัทหนึ่ง หรือประสบการณ์จากหลายบริษัทรวมกัน
  2. เมื่อมั่นใจความรู้ความสามารถของตนในระดับหนึ่งแล้ว ก็สามารถรับงานนอกเวลา ทำบัญชีให้กับบริษัทอื่นเป็นรายได้เสริม
  3. เมื่อรับงานนอกเวลามากขึ้น ก็ปรับเปลี่ยนตัวเอง ออกมารับงานอิสระอย่างเต็มตัว
  4. เมื่อปริมาณงานที่รับมีเพิ่มขึ้น ก็เริ่มหาผู้ช่วย หรือชักชวนเพื่อน ๆ มาร่วมเป็นหุ้นส่วนกัน และขยายขอบเขตของงาน จากการรับทำบัญชี อาจขยายเป็นการวางแผนบัญชี เป็นต้น
  5. เมื่อกิจการเริ่มขยายใหญ่โตขึ้นอาจจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือบริษัทจำกัด ต่อไป
ใน ด้านรายได้นั้น หากสามารถสร้างความเป็นมืออาชีพให้กับผู้ประกอบการได้มั่นใจในฝีมือ เกิดความไว้ใจ และผูกกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งหรือหลายบริษัทได้ในระยะยาว ก็จะเป็นอาชีพที่มั่นคงได้ ยิ่งไปกว่านั้นหากได้รับความไว้วางใจจากบริษัทใหญ่ ๆ ก็จะได้ค่าตอบแทนที่สูงขึ้น และมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ เรียกได้ว่าเป็นอาชีพดาวรุ่ง ตลอดกาลเลยทีเดียว