ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553

“บัญชี”กับความไม่แน่นอน

“บัญชี”กับความไม่แน่นอน

ในการดำเนินธุรกิจ  มีความไม่แน่นอนหลายอย่างที่กิจการจะต้องเผชิญ  ซึ่งมีทั้งความไม่แน่นอนในการสูญเสียสินทรัพย์  หรือเกิดหนี้สินและค่าใช้จ่ายขึ้นโดนมิได้คาดหมายมาก่อน  ความไม่แน่นอนเหล่านี้  บางอย่างพอคาดการณ์ได้ว่าผลจะเกิดขึ้นอย่างไร  ช้าเร็วแค่ไหนซึ่งก็ดียังมีความไม่แน่นอนหลายอย่างที่คาดหมายไม่ได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด  และมีผลเป็นอย่างไร  จึงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องให้ความสนใจและบริหารความไม่แน่นอนด้วยความระมัดระวังรอบ ความไม่แน่นอนนั้นสามารถสะท้อนออกมาให้เห็นได้ในงบการเงินที่ผู้บริหารจัดทำขึ้น  เพราะมาตรฐานทางการบัญชีมีข้อกำหนดและวิธีการที่จะเปิดเผยให้ทราบถึงความไม่แน่นอนที่มีอยู่  หรือรับรู้ผลของความไม่แน่นอนเหล่านั้นในบัญชีและงบการเงิน  ดังนั้น  หากผู้บริหารซึ่งเป็นผู้จัดทำงบการเงินและผู้ใช้งบการเงินต่าง ๆ เข้าใจในหลักการบัญชีดังกล่าว  ก็จะสามารถบริหารจัดการเกี่ยวกับความไม่แน่นอนเหล่านี้ได้อย่างถูกต้องและถูกทาง
โดยหลักการทั่วไปของ “บัญชี”  นั้น  ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความระมัดระวังอยู่แล้ว  กล่าวคือ  มาตรฐานการบัญชีต่าง ๆ มักจะกำหนดมิให้งบการเงินแสดงตัวเลขในเชิงบวกจนเกินไป  แต่จะต้องมีการเผื่อเหลือเผื่อขาดไว้ก่อน  ด้วยเหตุนี้เองจึงต้องมีการตั้งสำรองในบัญชีเอาไว้เสมอ  เผื่อมีเหตุการณ์ซึ่งเป็นความไม่แน่นอนที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายแก่กิจการ  ตัวอย่างเช่น  เมื่อเกิดคดีฟ้องร้องกันขึ้น  หากคาดได้ว่าบริษัทจะแพ้และมีการสูญเสียที่สามารถประมาณค่าเสียหายได้  มาตรฐานการบัญชีจะกำหนดให้รับรู้ค่าใช้จ่ายนี้ไว้ล่วงหน้าแม้คดีจะยังไม่สิ้นสุดก็ตาม  แต่ในกรณีกลับกัน  หากคาดการณ์ว่าผลของคดีซึ่งยังไม่แน่นอนจะเป็นคุณต่อกิจการทำให้ได้รับค่าชดใช้ค่าเสียหายหรือได้รับค่าชมเชย  มาตรฐานการบัญชีจะกำหนดให้ชะลอการรับรู้นั้นไว้ก่อนจนกว่าคดีจะแล้วเสร็จและเกิดรายได้จากการได้รับชดใช้หรือชดเชยแล้วจริง ๆ เท่านั้นหลักความระมัดระวังทางบัญชีข้างต้นอาจมีผู้บริหารที่มีความคิดไม่เห็นด้วยเพราะจะทำให้ผลงานที่ปรากฏในงบการเงินเกิดความไม่เสมอภาคกัน  อันเนื่องจากในสถานภาพเดียวกันของความไม่แน่นอน  มาตรฐานการบัญชีกำหนดให้รับรู้ค่าเสียหายที่จะต้องจ่ายด้านเดียว  แต่หากมีการรับรายได้บ้างกลับยังบันทึกบัญชีไม่ได้จนกว่าจะได้รับจริง อย่างไรก็ดี  ความไม่แน่นอนตามตัวอย่างที่กล่าวข้างต้น  หากไม่สามารถคาดคะเนได้ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่อย่างไร  หรือไม่อาจประมาณจำนวนเงินค่าเสียหายที่จะต้องจ่ายได้  มาตรฐานการบัญชีก็มีข้อกำหนดให้เปิดเผยข้อมูลนี้ไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินเพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินได้ทราบ  โดยถือเป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารที่จะต้องเปิดเผยข้อมูลให้ถูกต้องและเพียงพอ
การรับรู้หรือเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนที่มีผลกระทบต่องบการเงินอยู่ที่ความจริงใจและความโปร่งใสของผู้บริหาร  ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจกรรมทางธุรกิจที่ก่อให้เกิดความไม่แน่นอน  หากไม่ปกปิดและดำเนินการตามข้อกำหนดในมาตรฐานการบัญชีอย่างตรงไปตรงมา  งบการเงินก็ย่อมสะท้อนให้เห็นความไม่แน่นอนที่กิจการเผชิญอยู่ได้อย่างชัดเจน  ตลอดจนแนวโน้มหรือสถานภาพของความไม่แน่นอนต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานในแต่ละงวดบัญชี  เกิดผลดีต่อผู้ใช้งบการเงินและผู้มีส่วนได้เสียในกิจการนั้นที่ได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเที่ยงแท้สามารถประเมินผลกระทบหรือขอข้อมูลเพิ่มเติม  เพื่อตัดสินใจดำเนินการเกี่ยวกับความไม่แน่นอนนั้นได้  เสียงบ่นเรื่องรายการนอกงบการเงินหรือความไม่โปร่งใสของผู้บริหารก็จะเบาบางลงหรือไม่เกิดขึ้นเลย
อ้างอิง http://www.cpaccount.net/accounting-article-section/43-accounting-article-category/230--smes-accounting-policy

เสริมกลยุทธ์ธุรกิจ SMEs ด้วย"บัญชี"

                      สริมกลยุทธ์ธุรกิจ SMEs ด้วย"บัญชี"


บ่อยครั้งที่ผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ผิดหวังกับ “บัญชี”  เพราะตัวเลขจากงบการเงิน ที่ได้มาตลอดปีแสดงผลงานที่ดี มีกำไร แต่พอผู้สอบบัญชีตรวจสอบประจำปีกลับต้องผิดหวัง เพราะตัวเลขในงบการเงินต้องปรับปรุงแก้ไขใหม่เนื่องจากไม่เป็นไปตาม มาตรฐานการบัญชี ที่ถูกต้อง ผลการดำเนินงานพลิกกลับจากกำไรเป็นขาดทุน ซึ่งอาจเกิดจากเหตุผลหลายประการ เช่น นักบัญชีของกิจการไม่รู้หรือไม่เข้าใจในมาตรฐานการบัญชีหรือเปล่า  ถ้าใช่ก็คงต้องแก้ไขที่ตัวนักบัญชีเพราะเป็นอาชีพและความรับผิดชอบเบื้องต้นที่ต้องทำบัญชีให้ถูกต้อง ไม่ควรใช้มาตรฐานการบัญชีผิดทำให้ผู้บริหารเข้าใจสถานการณ์ผิดคลาดเคลื่อนไปก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมาก  แต่ถ้าไม่ใช่ความผิดของนักบัญชี หากเป็นเพราะผู้บริหารไม่ยอมปฏิบัติตามเนื่องจากไม่คิดว่าจะเป็นเรื่องที่คุยกับผู้สอบบัญชีไม่ได้หรือผู้บริหารไม่ยอมรับในมาตรฐานการบัญชี  ก็จำเป็นต้องปรับความเข้าใจกับผู้บริหารใหม่ให้ทราบถึงข้อกำหนดของกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำบัญชี  มาตรฐานการบัญชีในปัจจุบันมีความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายบัญชีมาก  ตัวเลขในงบการเงินจึงต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีเสมอ  ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการที่ผู้บริหารได้ดำเนินมาในรอบปีบัญชีหนึ่งจะต้องถือตามเกณฑ์นี้  กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ  ผลการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจของผู้บริหารจะปรากฏออกมาในรูปของบัญชี  และงบการเงินตามกติกาที่เรียกว่า  มาตรฐานการบัญชีนั่นเอง

อ้างอิง    http://www.cpaccount.net/accounting-article-section/43-accounting-article-category/230--smes-accounting-policy