ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

การทำระบบบัญชีผลกำไรรายชั่วโมง

การทำระบบบัญชีผลกำไรรายชั่วโมง

งาน บัญชีบริษัทเคียวเซร่า ประเทศญี่ปุ่น มีหลักการในการบริหารธุรกิจอยู่ว่า “ถ้าทำยอดขายให้ได้มากที่สุด ลดค่าใช้จ่ายให้มีน้อยที่สุดได้ ผลต่างที่เป็นมูลค่าเพิ่มนั้นก็จะสูงที่สุด” ด้วยหลักนี้เองทำให้เขาให้ความสำคัญกับการทำบัญชีบริษัท โดยทางเคียวเซร่าจะมีการทำงบการเงินทุกเดือน เพื่อให้สามารถรับรู้สถานการณ์ของบริษัทได้ตลอดว่าในแต่ละเดือน เขามีรายรับเท่าไร ค่าใช้จ่ายเท่าไร หักลบกันได้แล้วผลกำไรเท่าไร


ที่สำคัญเขาดูผลกำไรกันเป็นรายชั่วโมงเลยทีเดียว เคียวเซร่าใช้การบริหารบัญชีที่เรียกว่า “ระบบบัญชีกำไรรายชั่วโมง” ซึ่งช่วยให้แผนกต่าง ๆ สามารถมองเห็นตัวเลขมูลค่าเพิ่มของตน และพยายามทำให้ตัวเลขนั้นเพิ่มสูงขึ้น ยกตัวอย่างแผนกงานผลิต ผลกำไรของแผนกงานผลิต คือ ยอดจำหน่ายหักค่าใช้จ่าย ซึ่งคำนวณโดยลบค่าใช้จ่ายทั้งหมด (ยกเว้นค่าแรง) ออกจากจำนวนเงินยอดผลิตซึ่งคิดเป็นรายรับ แล้วนำยอดจำหน่ายหักค่าใช้จ่ายที่คำนวณได้มาหารด้วยจำนวนชั่วโมงทำงานทั้ง หมด ได้เป็น “ค่ารายชั่วโมง” ซึ่งเป็นมูลค่าเพิ่มที่แผนกงานผลิตทำได้ใน 1 ชั่วโมง
      เมื่อถึงสิ้นเดือนฝ่ายบัญชีจะสรุปข้อมูล เหล่านี้ส่งไปยังแผนกงานผลิต เพื่อที่หน้างานจะได้มองเห็นความคืบหน้าในแผนกของตนว่า สามารถทำยอดขายเพิ่มขึ้นตามเป้าหรือไม่ และในขณะเดียวกันก็สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ตามตัวเลขเป้าหมายที่กำกับไว้หรือ ไม่ หากพบว่าในส่วนใดมีการดำเนินการล่าช้ากว่ากำหนด หรือพบว่ามีค่าใช้จ่ายเกินกว่าที่คาดไว้ ก็จะได้ดำเนินมาตรการแก้ไขอย่างฉับไว และเข้มงวดมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้พนักงานมีความตื่นตัวในการทำงานอยู่เสมอ และพยายามเพิ่มค่าชั่วโมงให้กับตัวเอง ด้วยการหาวิธีใช้ชั่วโมงทำงานอย่างมีประสิทธิผล เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มมากที่สุด
       การทำ “ระบบบัญชีกำไรรายชั่วโมง” เช่นนี้ สะท้อนภาพการทำงานของแต่ละแผนกได้อย่างถึงแก่น ช่วยให้ผู้บริหารมองเห็นภาพผู้รับผิดชอบในส่วนงานต่าง ๆ รวมถึงผู้ใต้บังคับบัญชาและพนักงานของพวกเขาได้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังช่วยให้เข้าใจงานของพวกเขาดีขึ้น สามารถจับความเคลื่อนไหวของประเภทสินค้าที่ผลิต วัสดุและกระบวนการผลิต อุปกรณ์ เทคโนโลยีการผลิต และบรรยากาศทั่ว ๆ ไปในโรงงานได้เป็นอย่างดี เพียงดูจากตัวเลขในบัญชีผลกำไรรายชั่วโมงเท่านั้น
“ทำไมถึงได้ใช้ไฟฟ้ามากมายขนาดนั้น”
“ทำไมค่าเดินทางและค่าพาหนะถึงได้แพงขนาดนี้”
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรบัญชีผลกำไรรายชั่วโมงสามารถบอกได้หมดทุกอย่าง โดยไม่ต้องมีการรายงานให้ทราบ
      นอก จากจะแสดงผลประกอบการเป็นตัวเลขแล้ว บัญชีผลกำไรรายชั่วโมงยังรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแผนงานหลัก และแผกงานรายเดือน ซึ่งในขั้นสุดท้ายจะใช้การคำนวณตัวเลขของแผนงานในระดับองค์กรต่อไป และเมื่อดำเนินการตามนี้ ไม่ว่าแต่ละหน่วยแต่ละแผนกจะอยู่ตรงจุดไหน หรือมีขนาดเล็กเพียงใด ระบบบัญชีก็จะช่วยให้ผู้บริหารทราบทันทีว่ามีปัญหาเกิดขึ้นที่ไหน จะได้บริหารไปได้ถูกทางอย่างทันท่วงที และสามารถควบคุมผลกำไรให้ธุรกิจดำเนินไปตามความคาดหมาย และถึงเป้าหมายอย่างมั่นคง
      ต้องยอมรับว่าวิธีคิดของเคียวเซร่านั้น เขาให้ความสำคัญกับการทำบัญชีอย่างมาก ถึงได้ติดตามความเคลื่อนไหว ความเป็นไปของธุรกิจได้โดยตลอด ทำให้
เคียวเซร่าเป็นยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลในญี่ปุ่นมายาวนาน “ระบบบัญชีกำไรรายชั่วโมง” จึงเป็นอีกระบบหนึ่งที่นักบัญชีไม่ควรมองข้าม
ที่มา : Jobdb

การจะเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องทำอย่างไร


1. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการทดสอบเป้นผู้สอบบัญชีภาษีอากร
2.
วิชาและขอบเขตวิชาที่ทดสอบ

3. วิธีการยื่นคำขอเข้ารับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
4. การขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร
5. วุฒิการศึกษาที่สามารถสมัครเข้าทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร
     -
สถานศึกษารัฐบาล
     - สถานศึกษาสถานศึกษาเอกชน


ที่มา :http://www.accounttothai.com/index.php?option=com_content&task=view&id=487&Itemid=100

ระบบบัญชีบน Windows ดีกว่าระบบบัญชีบน Dos อย่างไร



  • โปรแกรม Windows มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องส่วนโปรแกรมบน Dos หยุดการพัฒนา
  • คนรุ่นใหม่ไม่รู้จัก Dos ส่วนใหญ่จะรู้จัก windows สามารถ Export ข้อมูลเข้าสู่โปรแกรม Windows ได้ทั้งหมด ส่วนโปรแกรมบน Dos ทำได้ยากมาก
  • ระบบบัญชีบน Windows ใช้งานง่ายเพราะเป็นระบบ Graphic User Interface (GUI) ส่วนระบบบน Dos การทำงานจะเป็น Text Mode
  • ระบบบน Windows สวยงามน่าใช้ และ Windows มีการทำงานแบบ Multitasking คือการทำงานได้หลายๆงาน พร้อมกันบนเครื่องคอมพิวเตอร์เดียวกัน ส่วนบน Dos จะต้องทำงานให้เสร็จก่อนถึงจะทำงานต่อไปได้
  • Windows มีการทำงานแบบ 32 bits ส่วน Dos มีการทำงานแบบ 16 bits การส่งผ่านข้อมูลจะรวดเร็วกว่าเดิม
  • Windows มีโปรแกรมต่างๆ สนับสนุนมากมาย โดยผู้ผลิตซอฟท์แวร์ชั้นนำต่างก็ผลิตออกมาตามความต้องการ ของผู้ใช้แตกต่างจากบน Dosที่ทุกๆ บริษัทเลิกพัฒนาและเลิกใช้
  • Windows เข้าสู่ระบบเครือข่ายได้ง่ายกว่า Dos เพราะปัจจุบัน E-commerce ได้เข้ามามีบทบาทในเชิงพาณิชย์ มากขึ้น
  • Windows เหมาะกับผู้บริหารเพราะ Report ที่ได้สามารถนำเสนอในรูปแบบของกราฟต่างๆ ได้ การโอนข้อมูลเข้าสู่ Excel ทำได้โดยง่าย ผู้บริหารสามารถเข้าใจในระยะเวลาอันสั้น
  • โปรแกรม Windows รองรับปี 2000 ได้แน่นอน ส่วน Dos ต้องมีการแก้ไขซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก
ที่มา:http://www.accounttothai.com/index.php?option=com_content&task=view&id=624&Itemid=100

คำศัพท์ทางบัญชีเบี้องต้น

  สินทรัพย์ หมายถึง สิ่งที่มีตัวตนหรือไม่มีตัวตนอันมีมูลค่า ซึ่งบุคคลหรือกิจการเป็นเจ้าของ หรือสามารถถือเอกประโยชน์ได้จากกรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์ อสังหาริททรัพย์ สินธิ์เรียกร้อง มูลค่าที่ได้มา รายจ่ายที่ก่อให้เกิดสิทธิ์ และรายจ่ายของงวดบัญชีถัดไป
จากความหมายดังกล่าว สินทรัพย์ในทางบัญชีมีหลายลักษณะดังนี้
      - สินทรัพย์ที่เป็นตัวเงินหรือเทียงเท่าเงิน เช่น เงินสด และตั๋วเงินรับต่าง ๆ
      - สินทรัพย์ที่เป็นสิทธิเรียกร้อง เช่น ลูกหนี้
      - สินทรัพย์ที่มีตัวตน เช่น ที่ดิน อาคาร รถยนต์
      - สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน เช่น สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ สัมปทาน
      - รายจ่ายที่จ่ายไปแล้วจะให้ประโยชน์ต่องวดบัญชีถัดไป ได้แก่ ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าประเภทต่าง ๆ
      สินทรัพย์สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
      1. สินทรัพย์หมุนเวียน (Current asets) หมายถึง เงินสดหรือสินทรัพย์อื่นที่มีเหตุผลจะคาดหมายได้ว่าจะเปลี่ยนเป็นเงินสด หรือขาย หรือใช้หมดไประหว่างรอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติของกิจการ
      2. สินทรัพย์ถาวร (Fixed assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่มีลักษณะคงทนถาวรเพื่อไว้ใช้ในการดำเนินงานตามปกติของกิจการ และมีอายุการใช้งานนานกว่า 1 ปี
      3. สินทรัพย์อื่น ๆ (Other assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่อาจจัดเข้าเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน หรือสินทรัพย์ถาวรได้ เช่น เงินลงทุนระยะยาว รายจ่ายหรือค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชี เป็นต้น
      หนี้สิน หมายถึง พันธะผูกพันกิจการอันเกิดจากรายการค้าการกู้ยืม หรือจากคนอื่นซึ่งจะต้องชำระคืนในภายหน้าให้แก่บุคคลภายนอกตามสิทธิเรียกร้องที่บุคคลภายนอกมีต่อกิจการด้วยสินทรัพย์ หรือบริการหนี้สินสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
      1. หนี้สินหมุนเวียน (Current liabilities) หมายถึง หนี้สินซึ่งมีระยะเวลาการชำระคืนภายใน 1 ปี หรือภายในรอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติของกิจการด้วยสินทรัพย์หมุนเวียน หรือด้วยการก่อหนี้สินระยะสั้นอื่นแทน
      2. หนี้สินระยะยาว (Long - term liabilities) หมายถึง หนี้สินซึ่งมีระยะเวลาการชำระคืนเกินกว่า 1 ปี หรือเกินกว่ารอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติของกิจการ หนี้สินระยะยาวแบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น เงินกู้ยืมระยะยาว หุ้นกู้ พันธบัตรเงินกู้ เป็นต้น   
      3. หนี้สินอื่น ๆ (Other liabilities) หมายถึง หนี้สินซึ่งไม่อาจจัดเป็นหนี้สินหมุนเวียนและหนี้สินระยะยาว เช่น เงินสะสมหรือเงินบำนาญของลูกจ้าง พนักงาน เงินกู้ยืมระยะยาวจากเจ้าหน้าที่ของบริษัทหรือบริษัทในเครือรายได้รอการตัดบัญชี เป็นต้น
      รายได้ หมายถึง ผลตอบแทนที่กิจการได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการตามปกติของกิจการรวมทั้งผลตอบแทนอื่น ๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงานตามปกติ รายได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 

      1. รายได้จากการขาย (Sales) หมายถึง รายได้ที่เกิดจากการขายสินค้าหรือบริการอันเป็นรายได้จากการดำเนินงานตามปกติ เช่น กิจการซื้อขายสินค้า รายได้ของกิจการ คือ รายได้จากการขายสินค้า ส่วนกิจการให้บริการ เช่น ซ่อมเครื่องไฟฟ้า
      2. รายได้ของกิจการ คือ รายได้ค่าซ่อม รายได้อื่น (Other incomes) หมายถึง รายได้ที่มิได้เกิดจากการดำเนินงานตามปกติของกิจการซึ่งเป็นรายได้ที่ไม่ใช้รายได้จากการขายสินค้าหรือบริการนั่นเอง
      ส่วนของเจ้าของ หมายถึง ทุนที่เจ้าของกิจการนำมาลงทุนเป็นเงินสด หรือสินทรัพย์อื่นรวมทั้งกำไรสุทธิที่ยังมิได้แบ่งให้แก่ส่วนของเจ้าของกิจการด้วย ส่วนของเจ้าของจะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ ส่วนของเจ้าของกิจการแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
      1. กิจการเจ้าของคนเดียว ส่วนของเจ้าของกิจการประกอบด้วยบัญชีทุน กำไรหรือขาดทุนสุทธิ และถอนใช้ส่วนตัว ห้างหุ้นส่วน ส่วนของเจ้าของกิจการเรียกว่า ส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน (Partners' equity) เป็นผลรวมของทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน ซึ่งทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนนั้นประกอบด้วยผลรวมของเงินลงทุน เงินถอนทุนและส่วนแบ่งผลกำไรและขาดทุนสุทธิ
      2. บริษัทจำกัด ส่วนของเจ้าของกิจการเรียนกว่า ส่วนของผู้ถือหุ้น (Shareholders' equity) เป็นผลรวมของทุนจดทะเบียนตามกฎหมายของบริษัทที่แสดงอยู่ในรูปชนิดของหุ้น จำนวนและมูลค่าหุ้น ส่วนเกินมูลค่าหุ้นหรือส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นและกำไรสะสม
      ค่าใช้จ่าย หมายถึง ต้นทุนส่วนที่หักออกจากรายได้ในรอบระยะเวลาที่ดำเนินการงานหนึ่ง ค่าใช้จ่ายสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ ต้นทุนขาย (Cost of sales) หมายถึง ต้นทุนของสินค้าที่ขายหรือบริการที่ให้ กล่าวคือในกิจการซื้อเพื่อขาย ต้นทุนของสินค้าที่ขายจะรวมราคาซื้อและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จำเป็น เพื่อให้สินค้าอยู่ในสภาพพร้อมที่จะขาย ส่วนในกิจการผลิตเพื่อขายต้นทุนของสินค้าที่ขายคือ ต้นทุนการผลิตของสินค้านั้น ซึ่งประกอบด้วย ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงานและโสหุ้ยการผลิต
      1. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Operating expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นอันเองมาจากการขายสินค้าหรือบริการ และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเนื่องจากการบริหารกิจการอันเป็นส่วนรวมของการดำเนินงาน
      2. ค่าใช้จ่ายอื่น (Other expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากที่จัดเข้าเป็นต้นทุนขายและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เช่นดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้
      3. ค่าใช้จ่ายสำหรับธุรกิจขายสินค้า จะประกอบด้วย ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และค่าใช้จ่ายอื่น สำหรับธุรกิจขายบริการค่าใช้จ่ายจะประกอบไปด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและค่าใช้จ่ายอื่นเท่านั้น
      งบการเงิน เป็นรายงานทางการเงินที่นำเสนอข้อมูลเพื่อแสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการโดยถูกต้องตามที่ควรในแต่ละงวดบัญชีใดบัญชีหนึ่ง หรือระหว่างงวดบัญชีก็ได้งบการเงินจะแสดงข้อมูลโดยถูกต้องตามที่ควรก็ต่อเมื่อกิจการได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีอย่างเหมาะสม รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อจำเป็น งบการเงินดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ และสามารถแสดงถึงผลการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหาร ซึ่งได้รับความไว้วางใจให้ดูแลทรัพยากรของกิจการ งบการเงินต้องจัดทำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และจะต้องนำเสนอข้อมูลดังต่อไปนี้ คือ สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้ ค่าใช้จ่าย และกระแสเงินสด
ส่วนประกอบของงบการเงินที่สมบูรณ์ ประกอบด้วย
      1. งบดุล (Balance sheet) เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่งว่ามีสินทรัพย์และหนี้สินประเภทอะไรเป็นมูลค่าเท่าใด และมีเงินทุนเป็นเท่าใด
      2. งบกำไรขาดทุน (Income Statement) เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงผลการดำเนินงานของกิจการในระหว่างงวดบัญชี หรือสิ้นงวดบัญชีใดบัญชีหนึ่ง
      3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ (Statement of changes in owners' equity) หมายถึง รายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ
      4. งบกระแสเงินสด (Cash Flow Statement) เป็นรายงานที่แสดงถึงการได้มาและใช้ไปของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
      หมายเหตุประกอบงบการเงิน (Note of Financial Statement) ประกอบด้วยการอธิบาย และการวิเคราะห์รายละเอียดของจำนวนเงินที่แสดงในงบดุล งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสดและงบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ โดยแสดงในรูปของงบย่อย หรืองบประกอบต่างๆ รวมทั้งข้อมูลเพิ่มเติม ข้อมูลที่มาตรฐานการบัญชีกำหนดให้ต้องเปิดเผย และการเปิดเผยข้อมูลอื่นที่ทำให้งบการเงินแสดงโดยถูกต้องตามที่ควร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจได้ถูกต้อง
เดบิต (Debit) ใช้อักษรย่อว่า "Dr หมายถึง
       - จำนวนเงินที่แสดงทางด้านซ้ายของบัญชี
      - การลงรายการทางด้านซ้ายของบัญชี หรือการผ่านบัญชีอันกระทำให้สินทรัพย์ หรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
      - การลงรายการทางด้านซ้ายของบัญชี หรือการผ่านบัญชีอันกระทำให้หนี้สิน รายการเงินทุน หรือรายได้ลดลง
      จากความหมายดังกล่าว เดบิตจะใช้บันทึกรายการพร้อมกับจำนวนเงินทางด้านซ้ายของบัญชี ในการบันทึกรายการจะมีผลทำให้บัญชีสินทรัพย์หรือบัญชีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ส่วนบัญชีหนี้สิน ทุน หรือบัญชีรายได้จะลดลง สำหรับเครดิตจะใช้บันทึกรายการพร้อมกับจำนวนเงินทางด้านขวาของบัญชี ในการบันทึกรายการจะมีผลทำให้บัญชีหนี้สิน ทุน หรือบัญชีรายได้เพิ่มขึ้น ส่วนบัญชีสินทรัพย์ หรือบัญชีค่าใช้จ่ายจะลดลง ผลต่างระหว่างจำนวนเงินรวมด้านเดบิต และจำนวนเงินรวมด้านเครดิตของแต่ละบัญชีเรียกว่ายอดคงเหลือในบัญชีหรือยอดดุลบัญชี (Account balance) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
      - ยอดดุลเดบิต (Debit balance) หมายถึง ผลต่างระหว่างจำนวนเงินรวมที่มากกว่าจำนวนเงินรวมด้านเครดิต
      - ยอดดุลเครดิต (Credit balance) หมายถึง ผลต่างระหว่างจำนวนเงินรวมที่มากกว่าจำนวนเงินรวมด้านเดบิต



ที่ม:http://www.accounttothai.com/index.php?option=com_content&task=view&id=255&Itemid=100

นักบัญชีอิสระ : อาชีพทำเงินในทุกสภาพเศรษฐกิจ

งานบัญชีเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการทำธุรกิจทุกประเภท เพราะจะทำให้เรารู้ต้นทุน-กำไร รายรับ-รายจ่าย รู้ความเคลื่อนไหวของสินค้าแต่ละชนิด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจทั้งสิ้น นอกจากนั้นผู้ประกอบการยังต้องสรุปบัญชี
ส่งสรรพากรอย่างสม่ำเสมออีกด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการไม่ว่าจะอยู่ในรูปของห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัดจึงต้องจ้างผู้ทำบัญชีประจำบริษัทอย่างน้อย 1 คน และไม่ว่าอาชีพอื่นจะตกงานมากเพียงใด อาชีพนักบัญชีก็ยังเป็นที่ต้องการอยู่ตลอดเวลา
นักบัญชีที่ต้องการจะรับงานบัญชีอิสระจะต้องเป็นผู้ที่เรียนมาทางด้านการ บัญชีและมีประสบการณ์ในการทำบัญชีมากพอ เช่น เคยเป็นสมุห์บัญชีหรือผู้จัดการแผนกบัญชีมาก่อน มีความรู้และชั่วโมงบินที่มากพอที่จะบินเดี่ยว หรือจัดตั้งสำนักงานบัญชีเป็นของตนเอง
โดยการเป็นนักบัญชีอิสระนั้น คุณสามารถรับงานทางด้านบัญชีได้หลากหลายตั้งแต่ รับทำบัญชี รับตรวจสอบบัญชี รับวางระบบบัญชี รับเขียนโปรแกรมบัญชี เป็นที่ปรึกษาภาษีอากร หรือเป็นวิทยากร วิชาบัญชี-ภาษีอากร รวมทั้งยังสามารถเปิดสถาบันอบรมบัญชี-ภาษีอากร หรือผลิตและจำหน่ายโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป หากคุณมีการรวมทีมจัดตั้งกันเป็นกลุ่มได้
หนทางสู่นักบัญชีอิสระ
  1. ทำงานประจำ-รับงานบัญชีให้บริษัทใดบริษัทหนึ่ง หรือประสบการณ์จากหลายบริษัทรวมกัน
  2. เมื่อมั่นใจความรู้ความสามารถของตนในระดับหนึ่งแล้ว ก็สามารถรับงานนอกเวลา ทำบัญชีให้กับบริษัทอื่นเป็นรายได้เสริม
  3. เมื่อรับงานนอกเวลามากขึ้น ก็ปรับเปลี่ยนตัวเอง ออกมารับงานอิสระอย่างเต็มตัว
  4. เมื่อปริมาณงานที่รับมีเพิ่มขึ้น ก็เริ่มหาผู้ช่วย หรือชักชวนเพื่อน ๆ มาร่วมเป็นหุ้นส่วนกัน และขยายขอบเขตของงาน จากการรับทำบัญชี อาจขยายเป็นการวางแผนบัญชี เป็นต้น
  5. เมื่อกิจการเริ่มขยายใหญ่โตขึ้นอาจจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือบริษัทจำกัด ต่อไป
ใน ด้านรายได้นั้น หากสามารถสร้างความเป็นมืออาชีพให้กับผู้ประกอบการได้มั่นใจในฝีมือ เกิดความไว้ใจ และผูกกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งหรือหลายบริษัทได้ในระยะยาว ก็จะเป็นอาชีพที่มั่นคงได้ ยิ่งไปกว่านั้นหากได้รับความไว้วางใจจากบริษัทใหญ่ ๆ ก็จะได้ค่าตอบแทนที่สูงขึ้น และมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ เรียกได้ว่าเป็นอาชีพดาวรุ่ง ตลอดกาลเลยทีเดียว

ตัวเลขทางบัญชีมีความสำคัญมากกว่าที่ตาเห็น

   การอ่านงบกำไรขาดทุน ที่แสดงผลประกอบการของบริษัทนั้น หากผู้ทำบัญชี หรือผู้บริหารติด กับดักตัวเลขที่ดูดี อาจทำให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาด เช่น นำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ เพิ่มขึ้น โดยไม่รู้เลยว่าสถานการณ์ทางการเงินของบริษัทไม่ได้ดูดีเหมือนกับตัวเลขที่ เห็น ทำให้ไม่มีเงินทุนหมุนเวียนมากพอ ซึ่งอาจส่งผลให้บริษัทประสบปัญหาล้มละลายและต้องปิดกิจการในที่สุด
ตัวเลขทางบัญชีมีความสำคัญมากกว่าที่ตาเห็น
 
สิ่งหนึ่งที่ต้องรู้ให้เท่าทันเกี่ยวกับตัวเลขทางบัญชีก็คือ งบการเงินที่แสดงถึงข้อเท็จจริงไม่มีอยู่ในโลกนี้ แต่ในความเป็นจริงนักบัญชีต่าง ก็พยายามใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการตกแต่งงบการเงินให้ดูดี ซึ่งก็คล้ายกับการแต่งหน้าของผู้หญิง ถ้าแต่งในระดับที่ดูดี เป็นที่ยอมรับได้ก็เรียกว่าแต่งหน้าเก่ง แต่ถ้าแต่งมากเกินความจริง ภาพที่เห็นก็จะกลายเป็นภาพที่หลอกตาผู้พบเห็น คนที่ดูงบการเงินไม่เป็น อาจมองและเห็นเพียงด้านเดียว แต่ถ้าได้ฝึกฝนจนชำนาญแล้วก็จะมองเห็นสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่เบื้องหลังตัวเลข ที่สวยงามดูดีนั้น  เปรียบได้กับรูปภาพ
“แจกันรูบิน” ที่หากมองเพียงผิวเผินก็จะเห็นเป็นแค่แจกันสีขาว แต่หากได้ทำความคุ้นเคยกับรูปภาพให้มากขึ้น ก็จะมองเห็นภาพชายหญิงหันหน้าเข้าหากัน ซึ่งเป็นรูปภาพที่ซ่อนเร้นอยู่ หลักการของบัญชีต่าง จากวิทยาศาสตร์ที่ต้องการแสวงหาความเป็นจริงที่สมบูรณ์ที่สุด แต่บัญชีไม่ได้ต้องการความสมบูรณ์ที่สุด เพราะหากจะทำให้สมบูรณ์ที่สุดก็คงไม่อาจหาข้อสิ้นสุดได้ และยิ่งกลายเป็นความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ หากแต่ความถูกต้องทางการบัญชีนั้น มุ่งเน้นที่การไม่ทำผิดกฎเกณฑ์ และไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “การเข้าข้างตัวเอง” ผสมอยู่ หลักเกณฑ์ทางบัญชีไม่ใช่อะไรที่ตายตัวเพียงหลักเดียวเท่านั้นที่ถูกต้อง แต่นักบัญชีสามารถเลือกสรรได้ว่าจะใช้หลักเกณฑ์ใดให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ บริษัท และเมื่อเลือกแล้วก็ต้องการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์นั้นต่อไป ตราบใดที่เรายังปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่เราเลือกต่อไป มันก็จะยังคงเป็นสิ่งที่ถูกต้องอยู่เสมอ เมื่อเราจะดูว่าผลประกอบการที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ต้องดูจาก งบกำไรขาดทุน ซึ่งคำนวณจากส่วนต่างระหว่างยอดขาย กับ ค่าใช้จ่าย เราจะรู้ว่าใน 1 ปีที่ผ่านมาเราได้กำไร หรือขาดทุน หรือหาก 1 ปียาวนานเกินไปจะสรุปผลกันเป็นราย 3 เดือน หรือสรุปทุก ๆ เดือนเลยก็ได้ โดยที่ความหมายของส่วนต่างที่เป็นกำไรหรือขาดทุนนั้นจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่า เราเปรียบเทียบรายได้อะไรกับค่าใช้จ่ายอะไร ดังต่อไปนี้
  • เมื่อนำ “ยอดขาย” ไปลบกับ “ต้นทุน” สิ่งที่ได้คือ “กำไรขั้นต้น”
  • เมื่อเอา “กำไรขั้นต้น” ลบด้วย “ค่าใช้จ่ายในการขายและการจัดการทั่วไป” ค่าที่เหลือเรียกว่า “กำไรจากการดำเนินการ”
  • หากมีรายได้หรือรายจ่ายนอกการดำเนินการ เช่น ดอกเบี้ยรับ ดอกเบี้ยจ่าย เงินปันผล นำมาบวกลบเข้าไป สิ่งที่ได้คือ “กำไรสุทธิ” หรือ “ขาดทุนสุทธิ” ซึ่งแสดงถึงความสามารถทางการบริหารที่แท้จริงของบริษัท
  • หากมี “รายได้อื่น ๆ “ อีก สามารถนำเข้าไปรวมกับ “กำไรสุทธิ” และเรียกว่า “กำไรสุทธิประจำงวดก่อนหักภาษี”
  • เมื่อนำไปหักภาษีนิติบุคคลแล้ว ส่วนที่เหลือจะเรียกว่า “กำไรสุทธิประจำงวด” ซึ่งจะแสดงผลการดำเนินการสุดท้ายของงวดปีนั้น ๆ
การ อ่านตัวเลขทางบัญชีจึงไม่สามารถดูเพียงด้านเดียวได้ แต่ต้องพิจารณาให้รอบด้าน นำตัวเลขรายได้ และค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นๆ มาพิจารณาประกอบด้วยเสมอ เพื่อให้ได้ตัวเลขผลการดำเนินการที่แท้จริงของบริษัทซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก ต่อการตัดสินใจในการบริหารธุรกิจต่อไป

ที่มา : JobDB

รายจ่ายต้องห้ามโดยแท้

          รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากร อาจแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น คือ รายจ่ายต้องห้าม โดยแท้ รายจ่ายต้องห้าม โดยผลของกฎหมาย และรายจ่ายที่ยอมให้ถือเป็นรายจ่ายได้
      รายจ่ายต้องห้ามโดยแท้ (Proper Non Deductible Expenditure) หมายถึง รายจ่ายที่โดยปกติธรรมดาในทางธุรกิจก็ไม่ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ และขาดทุนสุทธิ แต่เนื่องจากในทางภาษีอากรบัญญัติเป็นเชิงปฏิเสธ จึงต้องนำรายการรายจ่ายต้องห้ามโดยแท้มาบัญญัติห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่าย มิฉะนั้น อาจเป็นช่องทางให้ผู้ที่ไม่สุจริตนำรายจ่ายประเภทนี้มาคำนวณหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ซึ่งอาจจำแนกรายจ่ายต้องห้ามโดยแท้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรได้ดังนี้
      1.มาตรา 65 ตรี (1) เฉพาะในส่วนที่เป็นเงินสำรองทั่วไป เช่น สำรองตามกฎหมาย ซึ่งกันจากกำไรสะสมก่อนจ่ายเงินปันผล ในอัตรา 5% ของกำไรสุทธิประจำงวด (ที่ยังมิได้จ่ายเงินปันผล) จนกว่าเงินสำรองจะมีจำนวนไม่น้อยกว่า 10% ของทุนจดทะเบียน หรือสำรองเผื่อขยายกิจการที่กันไว้จากกำไรสะสมเช่นเดียวกัน
      2.มาตรา 65 ตรี (2) เงินกองทุน โดยทั่วไปเงินกองทุน เป็นเงินที่กันจากเงินสดของกิจการ ยังไม่มีการจ่ายจริง เช่น กองทุนเงินกู้ยืมแก่พนักงานเพื่อเป็นสวัสดิการ
      3.มาตรา 65 ตรี (3) เฉพาะส่วนที่เป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว หรือรายจ่ายให้โดยเสน่หา รวมทั้งค่าการกุศลไม่สาธารณะ เนื่องจากรายจ่ายในการดำเนินงานต้องเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการดำเนินกิจการหรือรายจ่ายเพื่อหากำไรโดยเฉพาะ จึงไม่สามารถนำรายจ่ายดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายได้
            (1) รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว ได้แก่ รายจ่ายส่วนตัวกรรมการ ที่ปรึกษา หรือพนักงาน ซึ่งเป็นบุคคลภายในองค์กรตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไปกำหนดให้แยกความเป็นส่วนตัวออกจากกิจการ เช่น ค่าจัดงานศพของกรรมการที่ปรึกษาหรือพนักงาน เป็นต้น
            (2) รายจ่ายให้โดยเสน่หา หมายถึง รายจ่ายส่วนตัวของผู้รับซึ่งเป็นบุคคลภายนอกองค์การที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยอมรับมาเป็นรายจ่ายของกิจการ เช่น รายจ่ายของขวัญ ของชำร่วย เป็นต้น
            (3) รายจ่ายการกุศลไม่สาธารณะ หมายถึง รายจ่ายการกุศลทั่วไปที่มีความใกล้เคียงกับรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวหรือให้โดยเสน่หา ประกอบกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นเพื่อมุ่งค้าหรือหากำไร มิใช่องค์การกุศลสาธารณะจึงไม่จำเป็นต้องมีรายจ่ายประเภทนี้
      4.มาตรา 65 ตรี (5) รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนหรือรายจ่ายฝ่ายทุน ได้แก่ รายจ่ายเพื่อการได้มาซึ่งได้มาซึ่งทรัพย์สินถาวรทั้งที่มีรูปร่าง และไม่มีรูปร่าง
      5.มาตรา 65 ตรี (6 ทวิ) ภาษีซื้อที่ผู้ประกอบการมีสิทธินำไปเครดิตหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องเสียในแต่ละเดือนภาษี และภาษีมูลค่าเพิ่มได้ชำระหรือพึงต้องชำระตามแบบ ภ.พ. 30 เนื่องจากภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี
      6.มาตรา 65 ตรี (7) การถอนเงิน โดยปราศจากค่าตอบแทนของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หมายถึง เงินถอนทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
      7.มาตรา 65 ตรี (9) รายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง
      8.มาตรา 65 ตรี (10) ค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นเจ้าของเองและใช้เอง เป็นรายจ่ายที่เป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ เพราะโดยปกติกิจการไม่อาจกระทำการเช่นนั้นได้ และไม่มีช่องทางที่จะบันทึกรายการทางบัญชีสำหรับรายการนี้ได้เลย
      9.มาตรา 65 ตรี (11) ดอกเบี้ยที่คิดให้สำหรับเงินทุน เงินสำรองต่างๆ หรือเงินกองทุนของตนเองเป็นรายจ่ายที่เป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติเช่นเดียวกับรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (10) ข้างต้น
      10.มาตรา 65 ตรี (12) เฉพาะในส่วนที่เป็นขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปีก่อนๆ ที่เกินกว่า 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน เป็นรายการรายจ่ายต้องห้ามที่สอดคล้องต้องกันทั้งในทางบัญชี และในทางภาษีอากร
      11.มาตรา 65 ตรี (13) รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ อาจแยกพิจารณาได้ดังนี้
            (1) รายจ่ายที่มิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการ หมายถึง รายจ่ายที่มิใช่รายจ่ายในการดำเนินกิจการหรือรายจ่ายที่มิได้เกิดขึ้นเพื่อการประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ ทั้งไม่อำนวยให้เกิดรายได้จากการจ่ายรายจ่ายรายการนั้น
            (2) รายจ่ายที่จ่ายแทนหรือจ่ายเพื่อกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่น
            (3) ผลขาดทุนของสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศ
      12.มาตรา 65 ตรี ผ14) รายจ่ายที่มิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือกิจการในประเทศไทย โดยเฉพาะหมายถึง รายจ่ายในต่างประเทศของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ซึ่งประกอบกิจการในประเทศไทย และเป็นรายจ่ายที่มิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทย โดยเฉพาะ
      13.มาตรา 65 ตรี ผ16) ค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่สูญหรือสิ้นไปเนื่องจากกิจการที่ทำ ซึ่งถือเป็นราย


ที่มา : www.jarataccountingandlaw.com

เดบิต เครดิต คือ อะไร

เดบิต (Debit) ใช้อักษรย่อว่า "Dr หมายถึง
จำนวนเงินที่แสดงทางด้านซ้ายของบัญชี
การลงรายการทางด้านซ้ายของบัญชี หรือการผ่านบัญชีอันกระทำให้สินทรัพย์ หรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
การลงรายการทางด้านซ้ายของบัญชี หรือการผ่านบัญชีอันกระทำให้หนี้สิน รายการเงินทุน หรือรายได้ลดลง
ับัญชีที่นิยมใช้กันอยู่ทุกวันนี้ใช้ระบบบัญชีคู่ที่ว่าคู่เพราะมีสอง
ฝั่งด้านซ้าย (DR)และด้านขวา (CR)
1. หมวดบัญชีสินทรัพย์
รายการค้าใดที่วิเคราะห์แล้วมีผลทำให้สินทรัพย์เพิ่มขึ้นจะ
บันทึกไว้ทางด้านเดบิต
2.หมวดบัญชีหนี้สิน
รายการค้าใดที่วิเคราะห์แล้วมีผลทำให้หนี้สินลดลงจะบันทึก
ไว้ทางด้านเดบิต
3. หมวดบัญชีทุน
รายการค้าใดที่วิเคราะห์แล้วมีผลทำให้ทุนลดลงจะบันทึก
ไว้ทางด้านเดบิต
4. หมวดบัญชีรายได้
รายได้ลดลงจะบันทึกบัญชีทางด้านเดบิต
5. หมวดบัญชีค่าใช้จ่าย
ถ้าค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจะบันทึกทางด้านเดบิต
หลักบัญชีคู่ การบันทึกบัญชีใช้หลัก "ทุกๆ เดบิต จะต้องบันทึกเท่ากับในทุกๆ เครดิต
เดบิด คือ สินทรัพย์ของเราเองที่เราหามาเพิ่มเติม
เหมือนหยอดกระปุก หากทุบกระปุกใช้ก็เป็นค่าใช้จ่ายเราเอง
บัตร Debit เหมือนบัตร Atm ผสมกับ Credit Card ต่างกับ Credit Card ตรงที่ต้องมีเงินในหรือบัญชีก่อน ถึงจะใช้เงินได้
ส่วนใหญ่ในปัจจุบันธนาคารเค้าทำบัตร Atm ให้เป็น Debit กันนะ นั่นคือ ใช้จ่ายในการซื้อของด้วยบัตรได้ แต่ต้องมีเงินในบัญชีก่อน
ความแตกต่างระหว่างบัตรเครดิต กับบัตรเดบิต
บัตร เดบิตคือ บัตรลูกหนี้ คือ ธนาคารเป็นลูกหนี้เรา ส่วนบัตรเครดิต พอรูดแล้วธนาคารจะออกเงินสำรองจ่ายแทนเรา ธนาคารก็จะมาอยู่ในฐานะเจ้าหนี้เรา
ส่วนเมื่อครบกำหนดชำระหากเราชำระตรง และเต็มจำนวนเราก็ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ธนาคารก็จะได้ส่วนต่างจากยอดชำระค่าสินค้าหรือบริการ หรือค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ย กรณีเบิกเงินสดจากตู้ ATM) เอาง่าย ๆ แบบชาวบ้านๆ ก็คือ
- บัตรเครดิต เป็นบัตรที่ธนาคารอนุมัติวงเงินให้เรา สามารถใช้จ่ายในวงเงินที่ธนาคารอนุมัติ หรือขอเกินได้กรณีฉุกเฉิน(ดูจากประวัติการชำระ และหน้าที่การงาน
- บัตรเดบิต เป็นบัตรที่เรานำเงินไปฝากไว้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ออกบัตร แล้วใช้จ่ายตามจำนวนที่เราฝากเงินไว้ (ไม่ต้องจ่ายเมื่อครบเดือน)
ง่าย ๆ เท่านี้เราก็ทราบแล้วนะครับ  ต่อไปไม่ว่าเราจะพบเจอโฆษณาบัตรต่าง ๆ ในสื่อ วิทยุ ทีวี หรือหนังสือพิมพ์ เราก็จะรู้ว่าบัตรดังกล่าวเป็นบัตรประเภทใด

วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

คำถามที่พบบ่อยๆ เกี่ยวกับ บัญชีธุรกิจและผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

อยากทราบวิธีการบันทึกบัญชีการรับชำระค่าหุ้นจดทะเบียนเป็นเงินสดและลูกหนี้ค่าหุ้น ?
ตอบ :
การบันทึกทุนจดทะเบียน Dr เงินสด XXX ลูกหนี้ค่าหุ้น XXX Cr ทุนจดทะเบียน XXX - เมื่อได้รับชำระค่าหุ้น Dr เงินสด/ธนาคาร XXX Cr ลูกหนี้ค่าหุ้น XXX

การตั้งค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง หมายถึงอะไร และมีวิธีการรับรู้อย่างไร ?
ตอบ :
ค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง หมายถึง ส่วนต่างที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าสินค้า คงเหลือสภาพปกติหรือสภาพเสื่อมชำรุดระหว่างราคาทุนกับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ เมื่อสินค้าคงเหลือถูกปรับลดให้เป็นมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ ไม่ให้ถือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับนั้นเป็นราคาทุนใหม่ ถ้ากิจการยังคงถือสินค้าคงเหลือดังกล่าวอยู่ ณ วันสิ้นงวดบัญชีถัดมา กิจการต้องเปรียบเทียบราคาทุนเดิมกับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับที่ได้ประเมินใหม่ ณ วันนั้น ซึ่งอาจเป็นผลให้มีการกลับรายการที่เคยบันทึกปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือในงวดบัญชีก่อน หากมูลค่าสุทธิที่จะได้รับที่ประเมิน ณ วันสิ้นงวดบัญชีถัดมากลับมีมูลค่าสูงขึ้น

การบันทึกรายการบัญชีตามใบสำคัญทั่วไปในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น ถือเป็นสมุดบัญชีรายวันทั่วไปตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ได้หรือไม่ ?
ตอบ :
การจัดทำบัญชีรายวัน ไม่ว่าจัดทำด้วยมือหรือใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ จะต้องเป็นไปตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการกิจการมีลูกหนี้การค้าที่เป็นหนี้ค้างชำระและไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ แต่เนื่องจากนานมากและการจัดเก็บเอกสารไม่ดี ทำให้ไม่มีหลักฐานการเป็นหนี้ ดังนั้นกิจการควรทำอย่างไรจึงจะตัดเป็นหนี้สูญได้ ? งบัญชี พ.ศ. 2544

กิจการถูกไฟไหม้ ทำให้บัญชีและเอกสารเสียหายบางส่วน และได้แจ้งเอกสารเสียหายกับทางกรมสรรพากรและกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว โดยในทางบัญชีกิจการมีรายการลูกหนี้การค้าแต่ไม่มีเอกสารเรียกเก็บเงิน ทำให้ยอดลูกหนี้ยังคงมีปรากฏอยู่ในบัญชี ดังนั้นกิจการจะสามารถตัดบัญชีลูกหนี้การค้าเป็นหนี้สูญได้หรือไม่ ?
ตอบ :
ให้ปฏิบัติตาม มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 11 เรื่อง หนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์การตัดหนี้สูญไว้ดังนี้ 1. เมื่อมีการทวงถามถึงที่สุดแล้ว โดยดำเนินการตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎหมาย ภาษีอากร 2. คาดหมายได้แน่นอนว่าจะไม่ได้รับการรับชำระหนี้

กรณีที่กิจการมีเงินลงทุนชั่วคราวเป็นหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดทั้งประเภทหลักทรัพย์ เพื่อค้าและหลักทรัพย์เผื่อขายนั้น กิจการจะต้องมีการปรับปรุงเงินลงทุนให้เป็นมูลค่ายุติธรรมทุกงวดบัญชีหรือไม่ ?
ตอบ :
ณ วันสิ้นปี กิจการจะต้องแสดงหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ทั้งที่เป็นหลักทรัพย์เพื่อค้าและหลักทรัพย์เผื่อขายที่ถือเป็นเงินลงทุนชั่วคราวในงบดุล ด้วยมูลค่ายุติธรรม โดยไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจากการขายเงินลงทุนนั้น การปรับมูลค่าของเงินลงทุน-หลักทรัพย์เพื่อค้าเป็นราคายุติธรรมนั้น อาจปรับโดยผ่านบัญชี “ ค่าเผื่อการปรับมูลค่าเงินลงทุน-หลักทรัพย์เพื่อค้า ” แทนที่จะเครดิตออกจากบัญชีเงินลงทุนชั่วคราว-หลักทรัพย์เพื่อค้าก็ได้

กิจการรับงานก่อสร้างให้กับหน่วยราชการ ซึ่งในปัจจุบันราคาของวัตถุดิบแปรผันมากและส่วนใหญ่ ไม่สามารถจะเรียกร้องจากหน่วยราชการได้ จึงทำให้เกิดผลขาดทุนขึ้นเป็นจำนวนมาก ดังนั้นกิจการควรแสดงงบการเงินหรือเปิดเผยถึงกรณีที่เกิดการขาดทุนเนื่องจากการซื้อมากกว่าการขายอย่างไร ?
ตอบ :
ถ้ากิจการเกิดผลขาดทุนจริงๆ กิจการต้องแสดงงบการเงินตามความเป็นจริงและสามารถเปิดเผยถึงสาเหตุที่เกิดผลขาดทุนจำนวนสูงไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินได้

กิจการจ่ายเช็คชำระหนี้ให้เจ้าหนี้การค้า ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2548 แต่เจ้าหนี้การค้ายังไม่นำเช็คไปขึ้นเงิน กิจการต้องปรับปรุงบัญชีหรือไม่ ?
ตอบ :
กิจการไม่ต้องปรับปรุงรายการ แต่ควรมีการจัดทำงบกระทบยอดเงินฝากธนาคารเพื่อให้กิจการสามารถตรวจสอบรายการได้

กิจการ A ได้รวมธุรกิจกับกิจการ B โดยการเข้าซื้อธุรกิจของกิจการ B ดังนั้นกิจการ A ควรบันทึกบัญชีในการซื้อธุรกิจของกิจการ B อย่างไร ?
ตอบ :
การรวมธุรกิจที่ถือเป็นการซื้อธุรกิจต้องปฏิบัติทางบัญชีโดยใช้วิธีซื้อ ซึ่งวิธีซื้อมีการบันทึกบัญชีคล้ายกับการซื้อสินทรัพย์โดยทั่วไป เนื่องจากการซื้อธุรกิจเป็นรายการบัญชีที่เกี่ยวกับการ โอนสินทรัพย์ การก่อหนี้สินหรือการออกหุ้นทุนเพื่อแลกเปลี่ยนกับการควบคุมสินทรัพย์สุทธิและการดำเนินงานของอีกกิจการหนึ่ง วิธีซื้อใช้ราคาทุนเป็นเกณฑ์ในการบันทึกบัญชีโดยกำหนดต้นทุนการซื้อธุรกิจจากรายการแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้น
กิจการได้กู้เงินนอกระบบมาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ เนื่องจากกิจการไม่สามารถขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้ ซึ่งในการกู้เงินนอกระบบจะมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าสถาบันการเงินประมาณ 7 เท่า ดังนั้นกิจการสามารถนำเงินกู้และดอกเบี้ยนอกระบบมาบันทึกบัญชีได้หรือไม่ ?
ตอบ :
ถ้ากิจการมีการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้จริง กิจการสามารถนำมาลงเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้ ซึ่งเงินกู้ยืมที่ได้รับมาก็ต้องบันทึกเป็นหนี้สินในงบการเงิน และต้องมีหลักฐานการกู้ยืมเงินและการชำระดอกเบี้ยที่สามารถตรวจสอบได้เพื่อประกอบการลงบัญชี

กรณีกิจการขายสินค้าให้ลูกค้าต่างประเทศเป็นเงินเชื่อ บันทึกบัญชีโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ และต่อมาได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ต่างประเทศ ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการกับวันที่รับชำระหนี้มีอัตราแตกต่างกัน ดังนั้นกิจการควรบันทึกบัญชีอย่างไร ?
ตอบ :
กิจการต้องบันทึกผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นของวันที่เกิดรายการกับวันที่มีการรับชำระหนี้ โดยรับรู้เป็นกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบรายการเจ้าหนี้การค้าซึ่งมีสาระสำคัญ โดยการขอความร่วมมือกับเจ้าหนี้ของกิจการที่รับตรวจสอบ ซึ่งให้เจ้าหนี้ทำรายละเอียดยอดคงค้างทั้งหมด เช่น ดอกเบี้ย เงินต้น และขอเอกสารยืนยันจากเจ้าหนี้ แต่ทางเจ้าหนี้ให้เพียงตัวเลขยอดคงค้างทั้งหมดเท่านั้น ไม่ได้ให้รายละเอียดเอกสารหลักฐานใดๆเลย กรณีดังกล่าวผู้สอบบัญชีควรดำเนินการอย่างไร ?
ตอบ :
ในการขอคำยืนยันยอดเจ้าหนี้นั้น ผู้สอบบัญชีต้องติดต่อกับเจ้าหนี้โดยตรง แต่ต้องได้รับอนุญาตจากลูกค้าก่อน เนื่องจากเป็นข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้าของลูกค้า โดยถ้าการขอคำยืนยันยอดหรือขอรายละเอียดหลักฐานจากเจ้าหนี้ไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร ผู้สอบบัญชีต้องใช้วิธีการตรวจสอบอื่นเพื่อให้ได้หลักฐานที่เพียงพอเกี่ยวกับเจ้าหนี้การค้า

งบการเงินที่ผู้สอบบัญชีแสดงหน้ารายงานการสอบบัญชีเป็นแบบไม่แสดงความเห็น ถือว่างบการเงินนั้นไม่ถูกต้องใช่หรือไม่ ?
ตอบ :
การแสดงหน้ารายงานดังกล่าว ถือเป็นความเห็นของผู้สอบบัญชี โดยที่ผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็นแบบไม่แสดงความเห็นก็ต่อเมื่อผู้สอบบัญชีไม่ได้ปฏิบัติงานตรวจสอบงบการเงินตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไปอย่างมีสาระสำคัญมาก หรือกิจการที่ตรวจสอบมีปัญหาต่อการดำเนินงานต่อเนื่องอย่างมีสาระสำคัญมาก หรือมีความไม่แน่นอนอันมีผลกระทบต่องบการเงินอย่างมีสาระสำคัญมาก ทำให้ผู้สอบบัญชีไม่สามารถตรวจสอบงบการเงินให้ได้หลักฐานการสอบบัญชีที่เพียงพอที่จะวินิจฉัยหรือให้ได้ความเห็นได้ว่า งบการเงินนั้นมีความถูกต้องตามที่ควรหรือไม่เพียงใด

ที่มา: http://www.cpaccount.net/accounting-article-section/43-accounting-article-category/190-2008-06-16-18-15-02

แนวทางในการจัดทำงบการเงินรวม

ก.ล.ต. ได้มีหนังสือเวียนแจ้งบริษัทจดทะเบียนและผู้สอบบัญชี เพื่อซักซ้อมความเข้าใจในเรื่อง แนวทางการจัดทำงบการเงินรวม ซึ่งมาตรฐานการบัญชีกำหนดให้บริษัทต้องนำงบของกิจการอื่นที่อยู่ภายใต้การควบคุมมาทำงบการเงินรวมด้วย เพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลที่ครบถ้วนและถูกต้องในการตัดสินใจลงทุน

ตัวอย่างรายละเอียดแนวทางในการจัดทำงบการเงินรวม คร่าวๆมีดังนี้

เนื่องจากมาตรฐานการบัญชีได้มีข้อกำหนดไว้ว่าบริษัทต้องจัดทำงบการเงินรวมโดยรวมงบการเงินบริษัทย่อย ซึ่งนั่นหมายถึงกิจการที่อยู่ภายใต้การอำนาจควบคุมของบริษัทที่จดทะเบียน แต่อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาพบว่ามีปัญหาในการพิจารณาถึงการอำนาจการควบคุมดังกล่าวว่าอย่างไรจึงจะถือว่าเป็นบริษัทย่อย โดยส่วนใหญ่แล้วบริษัทมักจะพิจารณาเพียงแต่สัดส่วนของการถือหุ้นที่เกินกว่ากึ่งหนึ่งเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วถึงแม้ว่าบริษัทจดทะเบียนจะถือหุ้นไม่ถึงกึ่งหนึ่งในกิจการอื่น ก็สามารถมีอำนาจควบคุมในกิจการนั้นๆ ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นทางสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จึงได้มีการกำหนดข้อบ่งชี้เบื้องต้นในการสันนิษฐานว่าบริษัทจดทะเบียนมีอำนาจควบคุมกิจการอื่นขึ้น
Download แนวทางการจัดทำงบการเงินรวมตัวเต็ม (PDF) !
ในการซักซ้อมความเข้าใจครั้งนี้ ก.ล.ต. ได้ยกตัวอย่างสถานการณ์ที่ ก.ล.ต. จะสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริษัทจดทะเบียนมีอำนาจควบคุมกิจการนั้นแม้จะถือหุ้นในกิจการไม่เกินกึ่งหนึ่งเช่น บริษัทจดทะเบียนมีการให้กู้ยืมในสัดส่วนที่สูงมากเมื่อเทียบกับสินทรัพย์รวมของกิจการนั้น(ไม่รวมกรณีที่บริษัทจดทะเบียนเป็นสถาบันการเงิน) หรือกิจการนั้นทำหน้าที่เป็นผู้ขายผู้แทนจำหน่าย หรือรับจ้างผลิตสินค้าให้แก่บริษัทจดทะเบียน และรายได้เกือบทั้งหมดของกิจการมาจากการค้าขายระหว่างกันในลักษณะที่อาจพิจารณาได้ว่าเป็นเสมือนส่วนงานหนึ่งของบริษัทจดทะเบียน เป็นต้น ซึ่งกรณีเหล่านี้บริษัทจดทะเบียนและผู้สอบบัญชีควรจะถือว่ากิจการดังกล่าวเป็นบริษัทย่อยในการจัดทำงบการเงินรวม เว้นแต่บริษัทจดทะเบียนจะสามารถชี้แจงข้อเท็จจริงอื่นที่แสดงว่าตนไม่ได้มีอำนาจควบคุมกิจการนั้น
ที่ผ่านมา ก.ล.ต. พบว่าหลายบริษัทพิจารณาอำนาจควบคุมโดยดูจากสัดส่วนการถือหุ้นที่เกินกึ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีและทำให้ผู้ลงทุนไม่มีข้อมูลที่แท้จริงเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลประกอบการของทั้งกลุ่มบริษัท ก.ล.ต. จึงต้องมีหนังสือเพื่อซักซ้อมความเข้าใจและให้ตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเพื่อให้มีการปฏิบัติโดยถูกต้องต่อไป

ที่มา: http://www.cpaccount.net/accounting-article-section/43-accounting-article-category/207-2008-06-30-02-04-04

การจดทะเบียนเลิก และ ชำระบัญชีบริษัทจำกัด

การจดทะเบียนเลิก และ ชำระบัญชีบริษัทจำกัด
บริษัทจำกัดอาจเลิกกันได้หลายกรณี ดังต่อไปนี้
1. เลิกโดยผลของกฎหมาย
  • กรณีข้อบังคับกำหนดเหตุเลิกไว้และเมื่อมีเหตุนั้นเกิดขึ้น
  • ตั้งบริษัทโดยกำหนดระยะเวลาไว้และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลานั้น
  • ตั้งบริษัทเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใด และเมื่อทำกิจการนั้นเสร็จแล้ว
  • บริษัทล้มละลาย
  • นายทะเบียนขีดชื่อบริษัทออกจากทะเบียน (ถอนทะเบียนร้าง)
2. โดยความประสงค์ของผู้ถือหุ้น
  • ผู้ถือหุ้นลงมติพิเศษให้เลิกบริษัท
3. เลิกโดยคำสั่งศาล เหตุที่ศาลจะสั่งเลิกบริษัทคือ
  • ทำผิดในการยื่นรายงานประชุมตั้งบริษัท หรือทำผิดในการประชุมตั้งบริษัท
  • บริษัทไม่เริ่มประกอบการภายใน 1 ปี นับแต่จดทะเบียน หรือหยุดทำการถึง 1 ปี
  • การค้ามีแต่ขาดทุนและไม่มีหวังฟื้นกลับคืน
  • จำนวนผู้ถือหุ้นเหลือไม่ถึง 7 คน
เมื่อบริษัทจำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคลเลิกกัน บริษัทจะยังคงตั้งอยู่เพื่อการชำระบัญชีและการเลิกบริษัทกรณีอื่นนอกจากล้มละลายต้องมีการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี เพื่อดำเนินการจดทะเบียนเลิกบริษัทและชำระสะสางบัญชีของบริษัทจำกัดให้เสร็จสิ้นไป

ขั้นตอนการจดทะเบียนเลิกและชำระบัญชีบริษัท

การเลิก และ ชำระบัญชีบริษัทจำกัด ในกรณีที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติพิเศษให้เลิกบริษัท มีขั้นตอนดำเนินการรวม 8 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1. จัดประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น 2 ครั้ง เพื่อลงมติพิเศษให้เลิกบริษัท ดังนี้
  • การประชุมครั้งแรก
          - มีวาระพิจารณาเรื่องเลิกบริษัท
          - ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะต้องลงมติให้เลิกบริษัทด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4
  • การประชุมครั้งที่สอง
          - มีวาระพิจารณา 3 วาระ คือ ยืนยันมติให้เลิกบริษัทของที่ประชุมครั้งแรก และแต่งตั้ง ผู้สอบบัญชี และกำหนดค่าตอบแทน
          - ที่ประชุมจะต้องลงมติยืนยันให้เลิกบริษัทด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ส่วนมติแต่งตั้งผู้สอบบัญชีรวมทั้งกำหนดค่าตอบแทนใช้มติธรรมดาโดยเสียงข้างมาก
          - การประชุมผู้ถือหุ้นครั้งที่สองจะต้องห่างจากการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งแรกไม่น้อยกว่า 14 วัน และไม่เกินกว่า 6 สัปดาห์
2. ผู้ชำระบัญชีต้องลงประกาศเลิกบริษัทในหนังสือพิมพ์ท้องที่ 2 วัน
    ต้องแจ้งการเลิกบริษัทให้เจ้าหนี้ทราบโดยส่งหนังสือลงทะเบียนไปรษณีย์ และต้องจดทะเบียนเลิกบริษัทต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทภายใน 14 วัน นับตั้งแต่วันเลิกบริษัท
3. จัดทำงบดุล ณ วันเลิกบริษัทและส่งให้ผู้ตรวจสอบบัญชีตรวจสอบโดยเร็วที่สุด
4. เมื่อผู้ตรวจสอบบัญชีตรวจสอบงบดุลแล้วเห็นว่าถูกต้อง ให้ผู้ชำระบัญชีเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติงบดุล และพิจารณาว่าจะให้กรรมการบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีต่อไปหรือจะแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีขึ้นใหม่
5. ผู้ชำระบัญชีต้องดำเนินการชำระบัญชีโดยรวบรวมทรัพย์สิน เรียกให้ผู้ถือหุ้นชำระเงินค่าหุ้นที่ค้างอยู่ ขายทรัพย์สิน เรียกลูกหนี้ให้ชำระหนี้ ชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ ชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายที่กรรมการบริษัทได้ออกไปในการดำเนินกิจการค้าแทนบริษัท หากมีทรัพย์สินเหลือให้คืนทุนผู้ถือหุ้น
(กรณีการชำระบัญชีปรากฏว่าทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้สิน ให้ผู้ชำระบัญชีร้องขอต่อศาล เพื่อให้ศาลสั่งให้บริษัทจำกัดล้มละลาย)
6. ในกรณีที่ชำระบัญชีไม่แล้วเสร็จ ผู้ชำระบัญชีต้องจัดทำรายงานการชำระบัญชี (แบบ ลช.3) ยื่นต่อนายทะเบียนทุกระยะ 3 เดือน และในกรณีชำระบัญชีไม่เสร็จเกินกว่า 1 ปี ผู้ชำระบัญชีต้องจัดประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อครบปีทุกปี เพื่อรายงานความเป็นไปของการชำระบัญชี
7. เมื่อผู้ชำระบัญชีดำเนินการชำระบัญชีเสร็จสิ้นแล้ว ผู้ชำระบัญชีต้องจัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติรายงานผลการชำระบัญชี
8. เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติแล้ว ผู้ชำระบัญชีต้องจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีต่อนายทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันประชุมอนุมัติเสร็จการชำระบัญชี
เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนเลิกบริษัท
  • คำขอจดทะเบียน (แบบ ลช.1)
  • รายการจดทะเบียนเลิก (แบบ ลช.2)
  • คำสั่งศาลให้เลิกบริษัท (กรณีศาลสั่งเลิก)
  • มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่ผู้ถือหุ้นทุกคนเข้าประชุมและมีมติเป็นเอกฉันท์แต่งตั้งผู้อื่น นอกจากกรรมการเป็นผู้ชำระบัญชี (เฉพาะกรณีที่กรรมการทุกคนไม่ได้เป็นผู้ชำระบัญชีหรือมีการเลือกบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชี)
  • สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ชำระบัญชีที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
  • สำเนาหลักฐานแสดงสถานะของผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
  • หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
  • สำเนาใบมรณบัตร (ใช้เฉพาะกรณีกรรมการถึงแก่กรรม)
อัตราค่าธรรมเนียม
  • จดทะเบียนเลิก 400 บาท
  • หนังสือรับรอง ฉบับละ 120 บาท
เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี
  • คำขอจดทะเบียน (แบบ ลช.1)
  • รายการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี (แบบ ลช.5)
  • รายงานการชำระบัญชี (แบบ ลช.3)
  • งบการเงิน ณ วันเลิกบริษัท
  • รายละเอียดบัญชีและสรรพเอกสาร (แบบ ลช.6)
  • แบบรับรองการตรวจสอบบัญชีของกรมสรรพากร
  • สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ชำระบัญชีที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
  • สำเนาหลักฐานแสดงสถานะของผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
  • หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
คำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบสามารถขอซื้อได้ที่หน่วยงานของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทุกแห่งหรือ Download ได้จาก http://www.dbd.go.th/
อัตราค่าธรรมเนียม
  • จดทะเบียนเสร็จชำระบัญชี 400 บาท
  • หนังสือรับรอง ฉบับละ 120 บาท
ข้อควรรู้เพิ่มเติม
1. กรรมการทุกคนย่อมเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำกัด เว้นแต่จะมีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
2. กรรมการบริษัท มีอำนาจโดยตำแหน่งเดิมฉันใด เมื่อเป็นผู้ชำระบัญชีก็ยังคงมีอำนาจอยู่ฉันนั้น
3. งบดุลเพียงวันเลิกบริษัทจำกัด หมายถึง งบดุล ณ วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติพิเศษให้เลิกบริษัทจำกัด หรืองบดุล ณ วันที่ นายทะเบียนรับจดทะเบียนเลิกบริษัทจำกัด และผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต้องรับรองว่าถูกต้อง
4. การลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน ผู้ชำระบัญชีผู้ขอจดทะเบียนต้องลงลายมือชื่อด้วยตนเองต่อหน้านายทะเบียน ในกรณีที่ไม่อาจลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียนได้ ไม่ว่าด้วยประการใดๆ ให้ผู้ขอจดทะเบียนลงลายมือชื่อด้วยตนเองต่อหน้าบุคคล ดังต่อไปนี้
    4.1 กรณีลงลายมือชื่อในราชอาณาจักร
  • พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งประจำอยู่ในท้องที่ที่ผู้ขอจดทะเบียนมีภูมิลำเนาอยู่
  • สามัญสมาชิกหรือสมาชิกวิสามัญแห่งเนติบัณฑิตยสภาหรือ
  • บุคคลอื่นตามที่นายทะเบียนกลางประกาศกำหนด ได้แก่
          -  ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
          -  กรรมการและเจ้าหน้าที่หอการค้าไทยและหอการค้าจังหวัด ตามประกาศสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง เรื่อง กำหนดบุคคลที่ผู้ขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน และบริษัทจำกัดจะลงลายมือชื่อต่อหน้าได้ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2550
     4.2 กรณีลงลายมือชื่อในต่างประเทศ
  • เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของสถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยหรือหัวหน้าสำนักงานสังกัดกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งรับผิดชอบการดำเนินงาน ณ ประเทศนั้น หรือเจ้าหน้าที่ผู้รับมอบหมายให้ทำการแทนบุคคลดังกล่าว
  • บุคคลซึ่งสามารถให้การรับรองที่สมบูรณ์ตามแบบของกฎหมายแห่งประเทศนั้น หรือ
  • บุคคลที่ควรเชื่อถือได้สองคนมาลงลายมือชื่อรับรองต่อหน้านายทะเบียนว่าเป็นลายมือชื่อผู้นั้นจริง
5. เมื่อได้จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีแล้ว การฟ้องคดีเรียกหนี้สินที่บริษัทจำกัด กรรมการหรือผู้ชำระบัญชีเป็นหนี้อยู่นั้น จะต้องทำการฟ้องภายใน 2 ปี นับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเสร็จชำระบัญชี


ที่มา: http://www.cpaccount.net/accounting-article-section/43-accounting-article-category/199-how-to-close-the-company-and-accounting

บุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียน จำเป็นต้องทำบัญชีด้วยหรือไม่

บุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียน จำเป็นต้องทำบัญชีด้วยหรือไม่
      

การที่บุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียน จำเป็นต้องทำบัญชีด้วยหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าเป็นธุรกิจที่มีประกาศของกระทรวงพาณิชย์กำหนดให้ต้องจัดทำบัญชีหรือไม่  ในขณะนี้มีประกาศกระทรวงพาณิชย์  เรื่องกำหนดให้บุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2544  กำหนดให้บุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจผลิตจำหน่าย นำเข้า ส่งออก  เทปเพลง ซีดี  วีดีโอต้องทำบัญชีสินค้าตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2544 เป็นต้นไป หากไม่ได้ทำธุรกิจนี้ก็ไม่ต้องจัดทำบัญชี

ที่มา; http://www.cpaccount.net/accounting-article-section/43-accounting-article-category/189-2008-06-16-18-07-21

ใครผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 คือใครบ้าง

ใครผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 คือใครบ้าง
  • ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
  • บริษัทจำกัด
  • บริษัทมหาชนจำกัด
  • นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
  • กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
  • บุคคลธรรมดา  ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก เทปเพลง  ซีดี  วีดีโอ

สถาบันวิชาชีพการบัญชีในประเทศไทย

สถาบันวิชาชีพการบัญชีในประเทศไทย

    
            สถาบันวิชาชีพการบัญชีในประเทศไทย ที่มีบทบาทในการกำหนดแนวทาง มาตรฐานบัญชี และ มาตรฐานการสอบบัญชี ได้แก่

สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย หรือ ส.บช. (The Instituee of Certified Accountants and Auditors of Thailand)
มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ร่วมกันของสมาชิก และเพื่อส่งเสริมวิชาชีพบัญชีในประเทศไทยให้อยู่ในมาตรฐานอันดีอันจะอำนวยประโยชน์ต่อสมาคมและประเทศชาติสืบไป ส.บช. มีส่วนสำคัญในการจัดทำมาตรฐานวิชาชีพและการปฏิบัติเพื่อให้มีมาตาฐานทัดเทียมกับต่างประเทศ โดยนำมาตรฐานบัญชีของต่างประเทศมาเป็นแนวทาง เช่น มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (International Accounting Standard หรือ IAS) ใช้เป็นแนวทางในการจัดทำมาตรฐานการบัญชีของไทย และใช้มาตรฐารการสอบบัญชีระหว่างประเทศ (International Standard on Auditing หรือ ISA) ใช้เป็นแนวทางในการจัดทำมาตรฐานการสอบบัญชีของไทยเป็นต้น
คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพการบัญชี หรือ ก.บช. (The Board of Supervision of Auditing Practices)
เป็นคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามกฏหมายว่าด้วยผู้สอยบัญชี โดยมีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานกรรมการ ก.บช. มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
  • รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
  • สั่งพักและเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีอนุญาต
  • ออกข้อบังคับวางหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการขอ การออก การต่อายุ และการออกใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัชีรับอนุญาต
  • ให้คำแนะนำ และคำปรึกษาแก่มหาวิทยาลัยและสถานศึกษาในการศึกษษวิชาชีพสอบบัญชี
  • ตั้งอนุกรรมการเพื่อนทำกิจกรรมหรือไตร่สวนพิจารณาเรื่องต่างๆ อันอยู่ในขอบเขตแหงอำนาจหน้าที่ของ ก.บช.
สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย (Institue of Internal Auditors of Thailand) เป็นสมาคมที่จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาวิชาชีพการบัญชี

ที่มา: http://www.cpaccount.net/accounting-article-section/43-accounting-article-category/176-accounting-standard-thai-organization